Kaeng Krachan Library
by JUNSEKINO
by JUNSEKINO
อ่านหนังสือใน “กล่องหนังสือ” กับบริบทกลางธรรมชาติของชุมชนแก่งกระจาน
เมื่อเจ้าของพื้นที่อยากคืนสิ่งดีๆ สู่สังคมด้วยการสร้างพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อการศึกษาสำหรับเด็ก รวมถึงคนในชุมชนระแวกใกล้เคียง ทั้งยังใจดีเผื่อแผ่แก่ผู้คนทั่วไปที่ผ่านเส้นทางนี้ ห้องสมุดหน้าตาละม้ายศาลา จึงมีที่ตั้งใจกลางป่าแห่งแก่งกระจาน มีความเรียบง่ายของสถาปัตยกรรมเป็นหลังคากันแดดกันฝน และมีธรรมชาติเป็นเพื่อนในสภาพแวดล้อมอันพิเศษ
บริบทของธรรมชาติบนพื้นที่ผืนนี้เป็นสีเขียวที่มองออกไปได้ไกลสุดสายตา ร่มเงาของต้นไม้ และความชื้นที่กักเก็บความเย็นไว้ในผืนดินกับแอ่งน้ำ Junsekino Architect and Design ผู้ออกแบบโครงการให้ความเคารพกับพื้นที่แห่งนี้ โดยการใช้รูปลักษณ์ที่ถ่อมตน แบบแปลนที่ไม่ซับซ้อน สื่อการใช้งานแบบตรงไปตรงมา ความสัมพันธ์ของพื้นที่ที่เท่าเทียมกัน และไม่มีลำดับขั้นเนื่องจากสามารถเข้าถึงการใช้งานได้จากทุกมุม ผลลัพธ์ของงานจึงมีความผ่อนคลายจนรับเอาบรรยากาศดีๆ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของงานได้ทุกช่องเปิด
"สิ่งที่เป็นพระเอกที่สุดของงานนี้คือหนังสือกับคนอ่าน ตัวสถาปัตยกรรมก็ค่อยๆ หายไป" บทบาทของสถาปัตยกรรมถูกสะท้อนออกมาทางคำอธิบายของคุณจูน เซคิโน่ Design Director Junsekino Architect and Design ที่เคยให้สัมภาษณ์เมื่อครั้งที่แล้ว
แม้อาคารจะมีรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม ได้หลังคาและผนังที่โปร่งแสงช่วยทำให้แสงเข้ามาได้อย่างทั่วถึง และทอนความหนักแน่นของอาคารให้เบาลง ทั้งยังช่วยให้ผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งกับบริบทอีกด้วย
แนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบคือการทำพื้นที่ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นพื้นที่ Common ได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่มีการกั้นพื้นที่ ไดอะแกรมของแผนผังอาคารเกิดจากการจับกลุ่มก้อนสี่เหลี่ยมเก้าก้อน ส่วนมุมทั้งสี่มุมเป็นที่ตั้งของชั้นหนังสือ ซึ่งสลับกับกล่องด้านข้างสี่ด้านเป็นพื้นที่เปิดโล่งสำหรับนั่งอ่านหนังสืออย่างเอกเขนก หรือเปลี่ยนอิริยาบทนั่งห้อยขาอ่านหนังสืออย่างจับเจ่า ทั้งสามารถทำกิจกรรมตามความอเนกประสงค์ของผู้ใช้ ในขณะที่กล่องตรงกลางเป็นเคาท์เตอร์ทำงานสำหรับบรรณารักษ์ให้สามารถสอดส่องดูแลความเรียบร้อยได้อย่างทั่วถึง
แนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบคือการทำพื้นที่ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นพื้นที่ Common ได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่มีการกั้นพื้นที่ ไดอะแกรมของแผนผังอาคารเกิดจากการจับกลุ่มก้อนสี่เหลี่ยมเก้าก้อน ส่วนมุมทั้งสี่มุมเป็นที่ตั้งของชั้นหนังสือ ซึ่งสลับกับกล่องด้านข้างสี่ด้านเป็นพื้นที่เปิดโล่งสำหรับนั่งอ่านหนังสืออย่างเอกเขนก หรือเปลี่ยนอิริยาบทนั่งห้อยขาอ่านหนังสืออย่างจับเจ่า ทั้งสามารถทำกิจกรรมตามความอเนกประสงค์ของผู้ใช้ ในขณะที่กล่องตรงกลางเป็นเคาท์เตอร์ทำงานสำหรับบรรณารักษ์ให้สามารถสอดส่องดูแลความเรียบร้อยได้อย่างทั่วถึง
“ความซื่อตรง” เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งที่ Junsekino Architect and Design ออกแบบโครงการเพื่อชุมชนออกมาได้อย่างลงตัวทุกครั้ง ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากข้อคิดตอนที่ได้ร่วมโครงการออกแบบ “โรงเรียนพอดีพอดี” คือการเข้าใจความต้องการของผู้ใช้งาน และบทบาทที่เหมาะสมของตัวสถาปัตยกรรม
สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นกับ “กล่องหนังสือ” เพื่อชุมชนแห่งแก่งกระจานนั้น แม้จะมีรูปลักษณ์ที่ไม่แตกต่างจากศาลาเคารพท้องถิ่น ที่ไม่กลายเป็นสถานที่แปลกแยกในชุมชน แต่ตั้งอยู่เพื่อทำประโยชน์โดยนำบริบทมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร พื้นที่แห่งนี้จึงกลายเป็นกล่องของขวัญของชุมชนตามจุดประสงค์ของพื้นที่แห่งนี้อย่างแท้จริง
สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นกับ “กล่องหนังสือ” เพื่อชุมชนแห่งแก่งกระจานนั้น แม้จะมีรูปลักษณ์ที่ไม่แตกต่างจากศาลาเคารพท้องถิ่น ที่ไม่กลายเป็นสถานที่แปลกแยกในชุมชน แต่ตั้งอยู่เพื่อทำประโยชน์โดยนำบริบทมาเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร พื้นที่แห่งนี้จึงกลายเป็นกล่องของขวัญของชุมชนตามจุดประสงค์ของพื้นที่แห่งนี้อย่างแท้จริง
Project : Kaeng Krachan Library
Owner : Subharada Chalacheebh
Architect : Junsekino Architect and Design
Area : 200 sq.m.
Project Location : Kaeng Krachan, Petchburi
Project Year : 2019
Photographer : Spaceshift Studio
Owner : Subharada Chalacheebh
Architect : Junsekino Architect and Design
Area : 200 sq.m.
Project Location : Kaeng Krachan, Petchburi
Project Year : 2019
Photographer : Spaceshift Studio