ถ่อมตน กวนตีน ลึกซึ้ง และหลงรักในงานออกแบบอย่างหัวปักหัวปำ ถ้าคุณกำลังมองหาสถาปนิกที่มีคุณสมบัติดังกล่าวครบถ้วน เราขอแนะนำให้รู้จักกับเจ้าของรางวัล Building of the Year จาก ARCASIA Awards คนล่าสุด จูน เซคิโน่
ผู้คนมากมายเดินเข้ามาทักทายและแสดงความยินดีกับเจ้าของผลงานออกแบบชิ้นเล็กๆ ในเมืองชนบทห่างไกลซึ่งได้รับเลือกให้เป็น Building of the Year จาก ARCASIA Awards 2018 รางวัลด้านสถาปัตยกรรมชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย พวกเขาต่างชื่นชมความธรรมดากับต้นทุนของเส้นไม่กี่เส้นที่ได้รับการออกแบบจนออกมาเป็นอาคารเรียนหลังน้อยแต่เปี่ยมไปด้วยความพิเศษในตัวเอง "เวลาที่เรามองงานของคุณ เรารู้สึกว่าต้องกลับไปมองอีก" นั่นคือสิ่งที่กรรมการผู้ตัดสินพูดถึงโรงเรียนบ้านหนองบัวของ จูน เซคิโน่ สถาปนิกลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่นคนนี้
“มันเกินความคาดหมายนะ ผมไม่กล้าคาดหวังหรอกว่าจะได้ ARCASIA Awards แค่คิดมันก็เป็นไปไม่ได้แล้ว” จูน เซคิโน่ กล่าว “แต่ถามว่าดีใจมั้ย ก็ดีใจ มันเป็นกำลังใจว่าอย่างน้อยเราตั้งใจทำแล้วผลออกมามันดี มันเป็นวินาทีที่ภาพขาวดำมันย้อนกลับมาเลย เวลาที่เราเหนื่อยกันมา มันก็ทำให้ทุกคนในทีมอยากตื่นมาทำงาน อยากแก้งานครั้งที่ห้าแล้วก็ยังแก้อยู่ต่อไป”
ที่สำนักงาน Junsekino Architect and Design สถาปนิกและนักออกแบบตกแต่งภายในกว่าสิบชีวิตนั่งก้มหน้าก้มตาทำงานของตนเองท่ามกลางห้องที่มีหุ่นจำลองอาคารต่างๆ วางอยู่แทบทุกมุม แม้ว่าแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบงานออกแบบ 5-6 โครงการในเวลาเดียวกัน แต่ที่นี่ เวลาในการออกแบบค่อยๆ เดินผ่านไปอย่างไม่เร่งรีบ "สถาปนิกเหมือนนักวิ่งมาราธอน ไม่ใช่วิ่งร้อยเมตร วิ่งร้อยเมตรคุณต้องมีรองเท้าที่ดีกว่า ต้องมีขาที่ยาวกว่า ต้นทุนคุณต้องดีกว่า" จูนกล่าว "แต่วิ่งมาราธอนมันไม่ได้แข่งอะไรกับใคร มันแข่งกับตัวเอง วิ่งให้สม่ำเสมอ วิ่งให้ถึงเส้นชัย"
การวิ่งบนเส้นทางมาราธอนสายสถาปนิกของจูนกินระยะเวลามาแล้วกว่า 18 ปี เขาเคยผ่านงานมาแล้วหลากหลายชนิด ทั้งโครงการขนาดใหญ่อย่างสนามบินหรือรีสอร์ต ไปจนถึงโครงการขนาดย่อมอย่างห้องสมุดหรือการตกแต่งภายใน บนเส้นทางนี้ เขาพบว่าการได้ใช้เวลาในการพัฒนางานแต่ละชิ้นอย่างไม่เร่งรีบคือสิ่งที่เขาถนัด นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กว่าครึ่งของผลงานที่ผ่านมาของเขาคือการออกแบบบ้านพักอาศัย “การออกแบบบ้านต้องใช้เวลา เพราะว่ามันเป็นการตอบโจทย์ในเชิงความพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์” จูนกล่าว “ในการทำบ้าน เราจะได้รู้จักเจ้าของบ้าน ได้ใกล้ชิด บางทีอยู่กับเขาจนเป็นเพื่อน หลังล่าสุด ตั้งแต่ออกแบบจนทุกอย่างนี่เข้าปีที่เจ็ดแล้ว แฮปปี้ ยิ่งกว่าเรียนมัธยมอีก เป็นเพื่อนสนิทกันไปเลย”
การวิ่งบนเส้นทางมาราธอนสายสถาปนิกของจูนกินระยะเวลามาแล้วกว่า 18 ปี เขาเคยผ่านงานมาแล้วหลากหลายชนิด ทั้งโครงการขนาดใหญ่อย่างสนามบินหรือรีสอร์ต ไปจนถึงโครงการขนาดย่อมอย่างห้องสมุดหรือการตกแต่งภายใน บนเส้นทางนี้ เขาพบว่าการได้ใช้เวลาในการพัฒนางานแต่ละชิ้นอย่างไม่เร่งรีบคือสิ่งที่เขาถนัด นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้กว่าครึ่งของผลงานที่ผ่านมาของเขาคือการออกแบบบ้านพักอาศัย “การออกแบบบ้านต้องใช้เวลา เพราะว่ามันเป็นการตอบโจทย์ในเชิงความพอใจ 100 เปอร์เซ็นต์” จูนกล่าว “ในการทำบ้าน เราจะได้รู้จักเจ้าของบ้าน ได้ใกล้ชิด บางทีอยู่กับเขาจนเป็นเพื่อน หลังล่าสุด ตั้งแต่ออกแบบจนทุกอย่างนี่เข้าปีที่เจ็ดแล้ว แฮปปี้ ยิ่งกว่าเรียนมัธยมอีก เป็นเพื่อนสนิทกันไปเลย”
นอกจากจะชอบเปลี่ยนลูกค้ามาเป็นเพื่อนแล้ว จูนยังนับถือเจ้าของบ้านที่กล้าหาญเข้ามาเคาะประตูเสนอให้เขาออกแบบบ้านให้อีกด้วย “ผมรู้สึกว่าคนที่เดินเข้ามาหาสถาปนิกแล้วบอกสถาปนิกว่าช่วยออกแบบให้หน่อยเนี่ย
คนพวกนั้นน่าสนใจมาก” จูนกล่าว “คือเป็นผู้กล้าอ่ะ เขาไม่จำเป็นต้องหาสถาปนิกก็ได้ ซื้อบ้านจัดสรร แบบฟรีเยอะแยะ แต่เขาเลือกที่จะเดินหาสถาปนิก ผมว่าคนพวกนั้นน่าสนใจ”
ในมุมมองของจูน การเป็นสถาปนิกเปรียบเสมือนกับการเป็นผู้หยั่งรู้อนาคตผู้คอยมองหาโจทย์และปัญหาที่ไม่มีใครมองเห็น "ผมรู้สึกว่าสถาปัตยกรรมหรืองานออกแบบเป็นสิ่งที่สถาปนิกเห็น เหมือนหมอดู เราเห็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นในอนาคต ไม่มีใครเห็นนอกจากเรา" จุนกล่าว "เวลาเดินไปในไซต์นึงแล้วมันสวยมาก มีน้ำมีภูเขา มัน Perfect มากเลยตอนที่ยังไม่เกิดสถาปัตยกรรม แต่พอสถาปนิกเดินเข้าไปในไซต์ ปัญหาเต็มเลย นู่นไม่สวยนี่ไม่สวย หมายความว่ามันเป็นอาชีพนึงที่แปลกประหลาดมาก"
คนพวกนั้นน่าสนใจมาก” จูนกล่าว “คือเป็นผู้กล้าอ่ะ เขาไม่จำเป็นต้องหาสถาปนิกก็ได้ ซื้อบ้านจัดสรร แบบฟรีเยอะแยะ แต่เขาเลือกที่จะเดินหาสถาปนิก ผมว่าคนพวกนั้นน่าสนใจ”
ในมุมมองของจูน การเป็นสถาปนิกเปรียบเสมือนกับการเป็นผู้หยั่งรู้อนาคตผู้คอยมองหาโจทย์และปัญหาที่ไม่มีใครมองเห็น "ผมรู้สึกว่าสถาปัตยกรรมหรืองานออกแบบเป็นสิ่งที่สถาปนิกเห็น เหมือนหมอดู เราเห็นสิ่งที่มันเกิดขึ้นในอนาคต ไม่มีใครเห็นนอกจากเรา" จุนกล่าว "เวลาเดินไปในไซต์นึงแล้วมันสวยมาก มีน้ำมีภูเขา มัน Perfect มากเลยตอนที่ยังไม่เกิดสถาปัตยกรรม แต่พอสถาปนิกเดินเข้าไปในไซต์ ปัญหาเต็มเลย นู่นไม่สวยนี่ไม่สวย หมายความว่ามันเป็นอาชีพนึงที่แปลกประหลาดมาก"
แม้ว่าสถาปนิกจะเป็นผู้สร้างสรรค์งานออกแบบ แต่สำหรับจูน เขามองว่างานที่ดีนั้นจะต้องเริ่มต้นจากเจ้าของงาน “งานที่ดีมันอาจจะไม่ได้มาจากสถาปนิกหรอก มันต้องมาจากเจ้าของงานที่ดีก่อน นี่แหละคือโปรแกรม” จูนกล่าว “ตอนนี้มีทำบ้านหลังหนึ่งเป็นบ้านช่างภาพแถวสุขุมวิท 49 คือจุดเริ่มไซต์มันมีปัญหามากเลยคือมันเป็นไซต์ที่คนทั่วไปไม่ทำเป็นบ้านแน่ แต่คนนี้เขาจะทำ คือเป็นทางสามแพร่ง อืมก็กล้าดี มุมมองมันก็แปลกดี เพราะข้างล่างมันแน่นมาก ก็เลยยกความเป็นบ้านขึ้นไปข้างบน Visual เราจะเห็นแล้วว่าข้างล่างเป็น Gallery ชั้นสองเป็นบ้าน จะเห็นแต่หลังคาบ้านคนอื่น ผมว่าวิธีคิดนี้น่าสนใจ คุยกับเจ้าของอีกโครงการก็ทำจะห้องสมุด จู่ๆ ก็มีความคิดอยากคืนอะไรสู่สังคมก็เลยทำห้องสมุดอยู่กลางสวนกลางป่าที่แก่งกระจาน เป็นห้องสมุดที่ตกเย็นเด็กๆ แถวนั้นก็มานั่งทำการบ้านได้ เสาร์อาทิตย์มีสอนหนังสือ ผมว่าอันนี้น่าสนใจ”
ในฐานะสถาปนิกและนักออกแบบ จูนมองว่าคนในสายอาชีพของเขานั้นเป็นมนุษย์ที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงรอบๆ ตัว กาแฟที่ดื่ม ออฟฟิศที่นั่งทำงาน หรือแม้แต่สถานะในชีวิตส่วนตัว ล้วนมีผลต่อระบบความคิดสร้างสรรค์ของเขา ดังนั้น งานออกแบบของเขาจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา "เวลาลูกค้าเข้ามา ผมก็จะบอกว่าสิ่งที่คุณเห็นเมื่อสี่ห้าปีที่แล้วเนี่ย มันเหมือนกับเราเดินอยู่ริมหาด ก็จะเกิดรอยเท้าใช่มั้ย รอยเท้าเราอาจจะไกลมากแล้ว ปัจจุบันเดินอยู่ตรงนี้ รอยเท้ามันอยู่ตรงนี้ คงไม่ไปทำอะไรแบบเก่าแล้ว เพราะเดินมาไกลแล้ว" จูนกล่าว "ก็จะบอกลูกค้าว่าจะเอาของที่อยู่ปัจจุบันนี้ไหม เราก็ต้องมาลุ้นกันนะ เพราะผมก็อยากจะลองทำหรือว่าจะเอาแบบนี้ (แบบเก่า) ก็พัฒนาจากตัวนี้ ก็ได้ทั้งคู่ ให้เขาเลือก แต่ไม่ใช่ก๊อปปี้นะ เป็นการ Adapt ถ้าเขาอยากได้อันนี้้"
บนเส้นทางมาราธอนสายสถาปนิกของจูนไม่มีคำว่าทางลัด ทุกย่างก้าวมีเพียงความสม่ำเสมอที่เขาทุ่มเทใส่เข้าไปในการทำงานออกแบบแต่ละชิ้น “สิบแปดปีมานี้ ตื่นเช้ามาผมเป็นสถาปนิกทุกวันเลยนะ ต้องออกแบบทุกวัน” จูนกล่าว “ไม่มีใครจ้างผมก็ออกแบบ ประกวดแบบ เขียนอะไรไป คิดนู่นคิดนี่ส่งนู่นส่งนี่ไป ในชีวิตจริง โอกาสไม่ใช่ต้องรอ มันมีแต่เราวิ่งเข้าไปใส่ พอวิ่งเข้าไปใส่มันก็มีสองอย่าง แย่สุดก็เฟล เฟลแล้วไง ก็วิ่งหาโอกาสใหม่ แต่ถ้าได้ล่ะ อย่าไปคิดเยอะ อย่ามีข้อแม้กับชีวิตเยอะ อยากเป็นก็จงไปเป็น ไม่ต้องไปคิดไปรอให้พร้อม มันไม่มีคำว่าพร้อม ผมไม่เคยรอแล้วมันได้เลย ก็วิ่งเข้าไปใส่ตลอด”