ด้วยแรงบันดาลใจจากสถาปัตยกรรมสไตล์ Mid-Century Modern ที่มีเอกลักษณ์ทั้งด้านความสวยงามและประโยชน์ใช้สอย BEATNIQ นำกลิ่นอายของเสน่ห์จากศตวรรษก่อนกลับมาตีความและนำเสนอในแบบที่เข้ากับยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว

นิยามของชีวิตในเมืองยุคใหม่กำลังจะเปลี่ยนไปที่ BEATNIQ…เพราะไปไหนต่อไหนได้เร็วขึ้น ด้วยทำเลที่เชื่อมต่อทุกรูปแบบการเดินทางและใกล้ BTS สถานีทองหล่อ แวดล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย... มีสีสันยิ่งขึ้น ด้วยการออกแบบที่สะท้อนเสน่ห์ของยุค Mid–Century Modern ภายใต้การสร้างสรรค์ที่ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย

การออกแบบที่ดีอยู่เหนือกาลเวลา แม้ยุคสมัยจะผ่านไป แต่ภาพของอาคารทรงกล่องเรียบง่ายแต่โดดเด่นด้วยผนังโครงเหล็กและช่องกระจกทรงสี่เหลี่ยมของโรงแรม Rex Hotel หนึ่งในสถาปัตยกรรมยุค Mid-Century Modern ชื่อดังของเมืองไทยก็ยังคงอยู่ในความทรงจำของใครหลายๆ คน เมื่อต้องออกแบบอาคารพักอาศัยแห่งใหม่บนที่ตั้งเดิมของโรงแรมแห่งนี้ ทีมสถาปนิกจาก SC Asset และ DB Studio เลือกที่จะนำเอกลักษณ์ของงานสถาปัตยกรรมจากศตวรรษก่อนมาตีความเสียใหม่แล้วนำเสนอออกมาในแนวทางที่เข้ากับวิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันได้อย่างสร้างสรรค์

ผนังที่เต็มไปด้วยช่องหน้าต่างคอนกรีตรูปทรงเรขาคณิตของ BEATNIQ ไม่เพียงชวนให้นึกถึงภาพโรงแรม Rex Hotel ในอดีตเท่านั้น หากยังเป็นภาพความทรงจำที่กลับมาในรูปแบบที่ตื่นตายิ่งกว่าเดิมเพราะถูกเพิ่มเติมด้วยจินตนาการใหม่ องศาและความลึกของช่องคอนกรีตสี่เหลี่ยมแต่ละช่องช่วยดึงแสงและเงาเข้ามาเพิ่มมิติให้กับผนังอาคารได้อย่างมีสีสันพร้อมกับช่วยในการบังแดดและกรองแสงให้กับอาคารจอดรถอีกด้วย นอกจากผนังด้านหน้าของอาคารแล้ว กลิ่นอายของสไตล์ Mid-Century Modern ยังได้รับการปรับโฉมหน้าเสียใหม่ แล้วแทรกใส่ลงไปในองค์ประกอบต่างๆ ทั่วทั้งด้านนอก และภายในอาคาร

แนวคิดหลักในการออกแบบของ BEATNIQ คือ ”Form Follows Function” ซึ่งเป็นมากกว่าแค่ความงามและการใช้สอย แต่ยังเอื้อต่อการใช้ชีวิต ดังนั้น การสะท้อนเอกลักษณ์ของยุค Mid-Century Modern จึงไม่เพียงตอบสนองความต้องการด้านสุนทรียภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากยังพิถีพิถันในการสร้างสรรค์ทุกรายละเอียดของโครงการให้ตอบโจทย์ด้านการใช้งานในวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์แบบอีกด้วย นอกจากนั้น การเลือกใช้วัสดุคุณภาพมาออกแบบและตกแต่งอย่างสร้างสรรค์ยังช่วยเพิ่มความเฉพาะตัวให้กับโครงการมากยิ่งขึ้น 

BEATNIQ เปิดประตูต้อนรับผู้อยู่อาศัยด้วยล็อบบี้ดีไซน์เรียบที่ตกแต่งด้วยหินอ่อนอลาเบสกาโต้สีขาว และผนังกระจกลาย ตารางสี่เหลี่ยมที่ดึงเอาเอกลักษณ์ของ Façade รูปทรงเรขาคณิตมาใช้ เพื่อเป็นการเชื่อมต่อลักษณะภายนอกอาคารสู่การตกแต่งภายในด้วยการใช้ภาษาทางการออกแบบที่สื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน ภายใต้บรรยากาศที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของศตวรรษที่ 20 ที่นี่มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับชีวิตในปัจจุบันทั้งห้อง Reading Lounge With Meeting Room ที่เปิดประตูออกไปสู่สวนภายนอกที่จำลองธรรมชาติมาไว้ใกล้ๆ ตัวทั้งสนามหญ้า ต้นไม้น้อยใหญ่ ให้ได้ผ่อนคลาย อีกทั้งสระว่ายน้ำสำหรับเด็กที่เปิดให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้บริการได้โดยยังคงมีบรรยากาศความเป็นส่วนตัวอยู่ เพราะมี Movable Wall ที่สามารถเลื่อนเปิด-ปิดแยกความเป็นสัดส่วนกับผู้มาเยือนด้านนอก

ด้วยที่ตั้งของ BEATNIQ ซึ่งอยู่ในใจกลางของกรุงเทพมหานครอย่างแท้จริง Floating Pavilion ที่ลอยขนาบสระว่ายน้ำบนชั้น 7 จึงทำหน้าที่เป็นเสมือนจุดชมวิวของเมืองที่ไม่เคยหลับใหลได้อย่างสมบูรณ์แบบ การนั่งผ่อนคลายริมสระว่ายน้ำส่วนตัว และทอดสายตาออกไปพบกับความหลากหลายทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของเมืองกรุงที่โอบล้อมอยู่รอบด้าน ให้ความรู้สึกคล้ายกับการได้สวมกอดกรุงเทพอย่างอบอุ่นและใกล้ชิด

หลังจากอิ่มตากับสีสันของจังหวะชีวิตในเมืองแล้ว เมื่อขึ้นไปที่ชั้น 32 ที่นี่ยังมีความร่มรื่นของ Landscape Sky Garden ที่ไม่เพียงเติมความร่มรื่นให้กับชีวิตในเมืองด้วยต้นไม้เขียวชะอุ่ม หากมุมมองทอดยาวไปเห็นความคดโค้งของคุ้งน้ำเจ้าพระยา และธรรมชาติของบางกระเจ้ายังเผยให้เห็นเสน่ห์อีกด้านที่ผ่อนคลายของกรุงเทพอีกด้วย
พื้นที่พักผ่อนบนสวนลอยฟ้านี้ยังได้รับการตกแต่งด้วยบันไดวนสีขาวที่ตั้งตระหง่านราวกับงานประติมากรรมกลางสวน Spiral Staircase นี้คืออีกหนึ่งองค์ประกอบที่นำกลิ่นอายของสถาปัตยกรรม ยุค 50s มาอยู่ร่วมกับชีวิตของยุคดิจิตอลได้อย่างกลมกล่อมเข้ากัน นอกจากผสมผสานสไตล์ของอดีตกับปัจจุบันเข้าด้วยกันแล้ว บันไดวนนี้ยังทำหน้าที่เชื่อมพื้นที่สวนลอยฟ้าเข้ากับชั้น 34 ซึ่งต้อนรับผู้อยู่อาศัยด้วย Sky Lounge With Outdoor Recreation Area พร้อมโซนบาร์บีคิว บริเวณพักผ่อนกลางแจ้ง และยังมีโซนส่วนตัว Heated Spa Pool ที่เปิดรับลมและวิวเมืองได้ในเวลาเดียวกัน

จากพื้นที่ส่วนกลางสู่ห้องพักส่วนตัว BEATNIQ ออกแบบห้องหลากหลายสไตล์เพื่อรองรับความต้องการ และขนาดที่แตกต่างกันตั้งแต่ 1 ห้องนอน 43 ตร.ม. – 3 ห้องนอน 207 ตร.ม. โดยห้องแต่ละแบบได้รับการออกแบบพื้นที่ใช้สอยอย่างลงตัว ให้ความรู้สึกกว้างขวาง และเปิดรับมุมมองภายนอกได้อย่างเต็มที่ด้วยหน้าต่างขนาดความสูงตั้งแต่พื้นจรดเพดาน
This is BEATNIQ in Brand’s view
การสร้างแบรนด์ที่หยิบยืมแนวคิดจากอดีตมาสื่อสารใหม่ จนทำให้ BEATNIQ กลายเป็นอาคารที่ไม่เพียงแค่ออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานได้อย่างลงตัว หากยังรองรับการใช้ชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ก่อนที่จะมีฮิปสเตอร์ นักคิดนักสร้างสรรค์ยุคก่อนก็เคยพยายามที่จะหลีกหนีออกจากกรอบของความซ้ำซากจำเจมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน หนึ่งในกลุ่มคนที่ประสบความสำเร็จในการเอาชนะกฏเกณฑ์และข้อจำกัดจนสามารถสร้างวัฒนธรรมใหม่ของตนเองทิ้งไว้ให้คนรุ่นต่อๆ มาได้ใช้เป็นแรงบันดาลใจก็คือชาว Beatnik หรือ Beat Generation ซึ่งอยู่ในยุคที่รูปแบบ Mid-Century Modern กำลังแผ่อิทธิพลเข้าไปในศิลปะแขนงต่างๆ “Mid-Century Modern คือยุคที่คนยุโรปเริ่มเบื่อกับความเป็นยุโรป เขาก็มีคนกลุ่มหนึ่ง ส่วนมากก็จะเป็นศิลปิน ทั้งด้านเพลง แฟชั่น สถาปัตยกรรม และนักออกแบบแขนงอื่นๆ เริ่มลุกขึ้นมาอยากจะเป็นกบฏทางเชิงความคิด เลยเกิดการเปลี่ยนแปลง” เชินชิน เชิดชูชัย Brand Consultant จาก Ketchup IMC ผู้รับผิดชอบด้านการสร้างแบรนด์ของ BEATNIQ กล่าว “ในยุคนั้นเขาเรียกศิลปินที่มีความขบถทางความคิดนี้ว่า Beatnik เราเลยรู้สึกว่าอันนี้เป็น Good Attitude นะ เราเลยเอาชื่อนี้มาตั้งเป็น Brand นี้ แต่เราเปลี่ยนตัวสะกดจาก K เป็น Q เพื่อเพิ่มความร่วมสมัยมากขึ้นและตัว Q มันก็สะท้อนคำว่า Unique เพราะจริงๆ เราก็อยากทำให้ตึกนี้มีความ Unique ด้วย”

จากความโดดเด่นทางด้านศิลปะและการออกแบบแขนงต่างๆ ของชาว Beatnik ในยุค Mid-Century Modern กับความ Unique ที่มารวมกันในบริบทของยุคปัจจุบัน ทีมแบรนดิ้งของ BEATNIQ ได้จับมือกับทีมออกแบบเพื่อร่วมกันพัฒนาโจทย์นี้ไปสู่การสร้างสรรค์โครงการคอนโดที่โดดเด่นทั้งทางด้านแนวคิด รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการใช้งานที่เข้ากับยุคสมัยใหม่ภายใต้กลิ่นอายจางๆ ของอดีต “เวลาที่เราคุยกัน ไม่ว่าจะเป็น Landscape สถาปนิก มาร์เก็ตติ้ง หรือตัวพี่เองที่ทำแบรนด์นี้ ทุกคนเห็นตรงกันว่าเราจะเอามาแค่จริตหรือ Culture ของยุคนั้น เราไม่ได้ยกมันมาทั้งหมด เพราะถ้าเรายกมาทั้งหมดตึกนี้ก็คงเป็นคอนโด Retro ไปแล้ว” เชินชิน อธิบาย “ภาพที่มันออกมาก็จะค่อนข้างกลมกล่อม ก็จะเห็นว่าทั้งคาแรคเตอร์ของแบรนด์และตึก มีความเป็น Mid-Century Modern ในแบบฉบับที่เราพัฒนาขึ้นมา มันไม่ได้เป็นแนวคิดของการย้อนยุค”

ในขณะที่ทีมสถาปนิกทำหน้าที่ถ่ายทอดเสน่ห์ของยุค Mid-Century Modern ออกมาในรูปแบบใหม่ผ่านตัวอาคารที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทีมแบรนดิ้งก็รับผิดชอบในการสื่อสารให้คนยุคใหม่เข้าใจถึงคุณค่าและความน่าหลงใหลของแนวคิดจากยุคก่อน “หน้าที่ของเราในฐานะที่เราทำแบรนด์หรือ Communication คือบอกเขาว่าเราทำคอนเซ็ปต์นี้เพราะเราคิดว่ามันน่าสนใจอย่างไร และไปจุดประกายให้เขารู้สึกว่ายุคนี้มันน่าสนใจยังไง ถ้าเขาสนใจ เขาก็จะหาข้อมูล ยิ่งอินยิ่งหาข้อมูลลึกลงไป ยิ่งถ้าสนใจเรื่องสถาปัตยกรรมก็จะเห็นว่ามันเป็นยุคการเปลี่ยนแปลงที่เป็นต้นกำเนิดของ Post Modern เลยนะ และถ้าคนที่สนใจเรื่องแฟชั่น จะเห็นว่ามันเป็นยุคเฟื่องฟู มีการเกิดชุดเดรสขาวดำ เป็นยุคเฟื่องฟูของ Coco Chanel และ Christian Dior ซึ่งพี่ว่าพวกนี้เป็นหน้าที่ของคนทำแบรนด์ที่จะไปจุดประกายให้เขารู้สึกตาวาวขึ้นมาว่า ว้าว Mid-Century Modern มันน่าสนใจอย่างนี้นี่เอง”
หนึ่งในแนวคิดที่สำคัญและรู้จักกันแพร่หลายมากที่สุดของยุค Mid-Century Modern ก็คือ Form Follows Function ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในวงการสถาปัตยกรรมเท่านั้น หากยังถูกนำไปใช้ในการออกแบบด้านอื่นๆ อีกด้วย เมื่อนำแนวคิดนี้มาตีความใหม่ให้เข้ากับบริบทของยุคสมัย คุณสมบัติในการรองรับการใช้งานเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอสำหรับการเป็นงานออกแบบที่ดีตามมาตรฐานของ BEATNIQ “ถ้าย้อนกลับไป มันมีเส้นๆ หนึ่งทางความคิดของสถาปัตยกรรม คือ Form Follows Function แต่สำหรับ BEATNIQ สุดท้ายแล้วมันมากกว่าแค่ Function ถ้าจะให้ Definition ของ BEATNIQ อยากจะให้คำจำกัดความว่า Form Follows Life” เชินชิน กล่าว “วันนี้แค่ Function มันไม่พอแล้ว จาก Form Follows Function ก็เลยเป็น Form Follows Life คือเป็นทุกอย่างของชีวิตที่มันเกิดขึ้นที่นี่ มันเป็นสิ่งที่ใหญ่กว่า และ Thinking อันนี้ ถ้าเราถ่ายทอดออกไปให้ Consumer เขาจะคิดว่าเราเป็น Brand ที่คิดถึงชีวิตซึ่ง Beyond ไปกว่า Function พี่ว่าอันนี้เป็นสิ่งที่ Differentiate ในการทำโครงการนี้”
This is BEATNIQ from the Architect's Perspective
ในมุมมองของสถาปนิกที่ชื่นชอบกลิ่นอายของสัจจะวัสดุและรูปแบบที่ตรงไปตรงมาของงานสถาปัตยกรรมจากยุค Mid-Century Modern ที่นี่คืออาคารที่จะคงความเรียบเท่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไรก็ตาม
หน้าตาของอาคารแห่งนี้ชวนให้เกิดความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาราวกับว่าเคยพบเจอในอดีต แต่ในขณะเดียวกัน องค์ประกอบหลายๆ อย่างก็ดูแปลกใหม่และมีเอกลักษณ์ในแบบฉบับของตัวเองชนิดที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน นี่ไม่ใช่เดจาวู หากเป็นความรู้สึกที่เกิดจากการนำกลิ่นอายของสถาปัตยกรรมจากศตวรรษก่อนมาตีความเสียใหม่แล้วใส่แนวคิดการออกแบบที่ตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเข้าไปจนกลายเป็น BEATNIQ คอนโดหรูที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายของยุคสมัยแห่งการเฉลิมฉลองในอดีตและเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน
ด้วยทำเลซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นที่ตั้งของ Rex Hotel โรงแรมเล็กๆ ที่เคยเฟื่องฟูในยุค 60s-70s ประกอบกับตึกแถวมากมายที่เคยร่วมสมัยกับกับโรงแรมแห่งนั้นก็ยังคงอวดโฉมของรูปแบบสถาปัตยกรรมจากวันวานให้เห็นอยู่โดยทั่วไป เมื่อต้องสร้างสรรค์อาคารหลังใหม่บนที่ดินแห่งนี้ ทีมสถาปนิกจึงเก็บเกี่ยวภาพความรุ่งเรืองจากอดีตมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ “Keyword คืองาน Mid-Century Modern ซึ่งเป็นงานโมเดิร์นในช่วงกึ่งกลางศตวรรษช่วงปี 1950-1960”     ศุภสิริ ไพรสานฑ์กุล ผู้ควบคุมคอนเซ็ปต์งานออกแบบโครงการ BEATNIQ กล่าว “ตึกแถวที่เห็นบนสุขุมวิทก็จะมีกลิ่นอายของ MCM สังเกตจากการที่มีองค์ประกอบพวกแผงกันแดดและช่องลม เพราะสมัยก่อนไม่ได้มีแอร์สะดวกสบายและประเทศเราก็เป็นเขตร้อน ฉะนั้นจะทำอย่างไรให้อยู่ได้สบายก็ต้องมีองค์ประกอบพวกนี้ เลยเกิดแรงบันดาลใจและคิดว่าน่าจะเอามาพัฒนา”

งานออกแบบย่อมตั้งอยู่บนเงื่อนไขของยุคสมัยและกาลเวลา ถึงแม้จะหลงใหลในเอกลักษณ์ของ Mid-Century Modern แต่เพื่อสร้างอาคารที่ตอบโจทย์ของวิถีชีวิตคนยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป การหาสูตรในการผสมผสานอดีตเข้ากับปัจจุบันจึงเริ่มต้นขึ้น “เราไม่ได้มีความคิดเรื่อง Retro เพราะเราไม่ได้ต้องการทำตึกย้อนยุค” ศุภสิริ กล่าว “แต่เป็นการตีความ MCM ในแบบของเรา มีกลิ่นอายและการตีความของงานศิลปะและสถาปัตยกรรมจากยุค MCM โดยที่ไม่ได้สูญเสียความสะดวกสบาย และฟังก์ชั่นในการใช้ชีวิตปัจจุบัน”

แนวคิดเรื่องของสัจจะวัสดุจากสถาปัตยกรรมยุค MCM ถูกนำมาเป็นกรอบในงานออกแบบ การใช้หิน คอนกรีต เหล็ก และกระจกในอาคารแห่งนี้จึงได้รับการถ่ายทอดออกมาอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนั้น ช่องลมและแผงกันแดดอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของ MCM ก็ยังได้รับการเปลี่ยนโฉมเสียใหม่ให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นทั้งในแง่ของภาพลักษณ์และการใช้งาน ช่องลมสี่เหลี่ยมที่ล้อมกรอบอาคารส่วนล่างไม่เพียงสร้างผิวอาคารภายนอกที่สะดุดตาทันทีที่ได้เห็น หากยังเปลี่ยนโฉมพื้นที่จอดรถซึ่งมักจะดูซ้ำซากและน่าเบื่อให้กลายเป็นจุดเด่นดึงดูดสายตาได้อย่างน่าสนใจ “เวลาเราเห็นที่จอดรถของคอนโดทั่วไป เราจะอ่านออกทันทีเลยว่ามันคือที่จอดรถ แล้วค่อยเป็นที่อยู่อาศัยขึ้นไปข้างบน มันดู Typical คือเป็นตึก ที่จอดรถ แล้วก็เป็นแท่งขึ้นไป” ศุภสิริ กล่าว “พอเรามี Skin ที่เป็นช่องลม หน้าตาแบบนี้มันน่าสนใจ ยิ่งลองนึกถึงกลางคืน ปกติไฟก็จะถูกทำให้เป็นไฟ Function Light ที่เป็นแสงสว่างเพียวๆ ไม่ว่าจะมองอย่างไรก็ไม่สวย แต่พอเรามาทำให้เป็นช่องลมที่เป็น Customize Facade เราคิดว่าถ้าหุ้มที่จอดรถด้วยแบบนี้ เวลาตอนกลางคืนที่เปิดไฟ ต่อให้เป็นไฟ Functional Light มันก็คงจะน่าสนใจ มันจะเรืองๆ เหมือนเป็นโคมไฟอันใหญ่ๆ อันหนึ่ง”

กรอบรูปทรงสี่เหลี่ยมของช่องลมในอาคารส่วนล่าง ยังได้รับการถ่ายทอดต่อเนื่องไปในส่วนอื่นของอาคารคล้ายกับเครื่องดนตรีหลากชนิดที่กำลังบรรเลงไปในจังหวะเดียวกันอย่างลงตัว “ส่วนของอาคารที่พ้น Podium ไปแล้ว ส่วนที่เป็นสีดำล็อคอยู่กับสีขาว ส่วนที่เป็นสีดำก็เป็นกระจกกับเหล็ก จากผังของเรามันทำให้เกิดการล็อคกันของส่วนสีขาวและดำ ส่วนสีขาวมันก็มีการพัฒนามาจากช่องลมของส่วนที่จอดรถขึ้นไปแล้วขยายสัดส่วน ทำให้เกิด Composition บางอย่างขึ้นมา” ศุภสิริ อธิบาย

เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมในยุค Mid-Century Modern ซึ่งมีโฉมหน้าเรียบเท่แต่ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยรายละเอียดที่น่าสนใจ "คือในยุคของ MCM จะเป็นความเรียบเท่และมีดีเทลที่น่าสนใจ ไม่ได้มีฟอร์มที่ฉูดฉาดและตะโกนว่ามาดูฉันสิ แต่เมื่ออยู่กับมันไปนานๆ เห็นมันไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นว่าตึกนี้มันมีดีเทลที่น่าสนใจเนอะ มีรายละเอียดที่ไม่เหมือนใคร" ศุภสิริ กล่าว "เราก็อยากให้ BEATNIQ ตั้งอยู่ตรงนี้ และไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปีก็ยังรู้สึกว่ามันเป็นตึกที่เรียบเท่อยู่"
This is BEATNIQ in Landscape Architect’s Point of View
เมื่อผสมผสานแรงบันดาลใจจากงานออกแบบและศิลปะในอดีตเข้ากับวิถีชีวิตคนเมืองยุคปัจจุบัน ผลลัพธ์ที่ได้คืองานภูมิสถาปัตยกรรมที่แปลกใหม่และดึงดูดให้ผู้ที่รักและสนใจในงานออกแบบมาอยู่รวมกัน
เมื่อเทคโนโลยีในการก่อสร้างที่เปลี่ยนแปลงไปเปิดโอกาสให้เหล่านักออกแบบในยุคกึ่งกลางศตวรรษก่อนได้ทดลองสร้างสรรค์รูปแบบของอาคารใหม่ๆ ขึ้นมา ผังอาคารเริ่มเปิดโล่งเมื่อระบบเสาและคานถูกนำมาใช้ ผนังที่ไม่จำเป็นต้องรับน้ำหนักโครงสร้างถูกลดทอนให้บางและเบาลงจนพื้นที่ภายในกับภายนอกสามารถเชื่อมต่อกันได้มากขึ้น วันเวลาผ่านไป คลื่นของความเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้นยังคงส่งแรงกระเพื่อมมาถึงปัจจุบัน กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ทีมนักออกแบบของ BEATNIQ สร้างสรรค์สวนในอาคารที่สะท้อนรูปแบบของศิลปะและสถาปัตยกรรมจาก Mid-Century Modern ออกมาในมุมมองที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร

“โครงการนี้เริ่มจากตัวที่ตั้งโครงการเคยเป็นโรงแรมเก่าที่สร้างในยุค 60s-70s ซึ่งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ พอเรามา Develop โครงการนี้กับ SC Asset ทางทีม เจ้าของและผู้ออกแบบ พยายามจะสร้างเรื่องราวให้มันตอบ Sense of Place ของตัวที่ตั้งของสถาปัตยกรรมอันเดิมซึ่งเป็นยุค MCM เราก็เลยศึกษางานในยุคนั้นทั้ง Architecture Landscape และ Painting แล้วเราก็เอามาปรุงให้เกิดเป็นโครงการ BEATNIQ ขึ้นมา” อรรถพร คบคงสันติ Design Director จากสตูดิโอ T.R.O.P ผู้รับผิดชอบงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของโครงการนี้กล่าว

ภาพการสะบัดฝีแปรงของ Jackson Pollock และภาพในซีรีส์สระว่ายน้ำของ David Hockney กลายเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์สวนชั้นล่างที่เชื่อมล็อบบี้ของ BEATNIQ ออกไปสู่ความร่มรื่นของพื้นที่สีเขียวใจกลางเมือง “เรามองศิลปะจากยุคนั้นแล้วมาคิดว่าถ้าเอามาเปลี่ยนแปลงเป็น Landscape จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร” อรรถพรกล่าว “ผมมองภาพวาดของ Jackson Pollock ที่เป็นแปรงสะบัดสีมันก็ทำให้เรานึกถึงต้นไม้ที่มันมีแสงลอดผ่านใบไม้มาเป็นจุดๆ บนพื้น ใบต้องไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป ให้มันเกิดสัดส่วนของเงากับแสงที่ลอดส่องลงมาประมาณครึ่งๆ อย่างต้นแคนาที่เราใช้ก็จะทำให้เกิด Texture คล้ายๆ กับภาพของ Pollock ในขณะเดียวกันภาพซีรี่ส์สระว่ายน้ำและสวนของ David Hockney ก็เกิดเป็นแรงบันดาลใจให้สวนชั้นล่างของ Lobby ที่เรามีการเล่นของสระน้ำตื้น หรือว่าร่มเงาและพื้นที่สีเขียวด้วย”

จากสวนชั้นล่างสู่ดาดฟ้าชั้นเจ็ด BEATNIQ เปลี่ยนโฉมสระว่ายน้ำลอยฟ้าเสียใหม่ด้วยแรงบันดาลใจจากบ้าน Farnsworth House ของ Mies van der Rohe “ผมอยู่คอนโดมาห้าปี ผมพบว่าคนที่อยู่คอนโดเขาไม่ค่อยได้ว่ายน้ำกันหรอก ดังนั้นถ้าเราออกแบบสระว่ายน้ำเหมือนคอนโดทั่วๆ ไปที่เป็น Vanishing Edge คนที่ไม่ได้จะว่ายน้ำเขาก็จะต้องอยู่ถัดออกไปจากขอบตึกพอสมควร" อรรถพร อธิบาย "ผมก็เลยเสนอให้มี Floating Pavilion ที่ได้แรงบันดาลใจจากบ้าน Farnsworth House ของ Mies Van de Roh ยื่นออกไปที่ขอบตึกเลย ฉะนั้นคนที่ไม่ได้มาว่ายน้ำก็สามารถเดินไปชมวิว นั่งทำการบ้านอ่านหนังสืออยู่ข้างบน ในขณะที่คนที่ว่ายน้ำก็จะว่ายลอด Pavilion ไปและยังได้วิวเหมือนกัน ก็ win-win ได้วิวทั้งคนที่มาว่ายน้ำและคนที่มาใช้"

นอกจากสวนด้านล่างและสระว่ายน้ำบนชั้น 7 เมื่อไต่ระดับความสูงขึ้นไปเรื่อยๆ BEATNIQ ก็ยังแทรกความเขียวชะอุ่มแนบเข้าไว้กับตัวอาคารที่ชั้น 32 อีกด้วย ที่สวนลอยฟ้าแห่งนี้ ไม่เพียงมีความร่มรื่นของต้นไม้เท่านั้น หากยังมีบันไดวนสีขาวตั้งตระหง่านประหนึ่งเป็นงานประติมากรรมกลางแจ้งที่เปิดโอกาสให้ผู้อยู่อาศัยเดินวนดูวิวที่ค่อยๆ เปลี่ยนไปได้ 360 องศาอีกด้วย “เนื่องจากพื้นที่ไม่ได้กว้างมาก ในขณะเดียวกันยังมี Facility อยู่ข้างบนอีกสองสามชั้น ผมอยากให้มันมีอะไรตรงการที่เชื่อมทุกชั้นเข้าด้วยกัน ก็เลยนึกว่ารูปแบบของบันไดเวียนเท่ๆ ขาวๆ ก็เข้ากับสถาปัตยกรรม MCM เหมือนกัน ก็เลยดึงตรงนั้นมาใช้” อรรถพรเล่าถึงที่มาของบันไดวนในสวน
ถึงแม้ว่าจะรับแรงบันดาลใจจากสไตล์ Mid-Century Modern แต่โจทย์สำคัญที่เป็นตัวกำหนดองค์ประกอบต่างๆ ในงานออกแบบของ BEATNIQ คือการตอบรับต่อสภาพแวดล้อมโดยรอบและตอบสนองต่อรูปแบบการใช้งานของคนยุคปัจจุบัน “BEATNIQ ค่อนข้างจะมีดีไซน์เฉพาะตัวมากๆ ด้วยมี MCM เป็นโจทย์ตั้งต้น ทำให้รายละเอียดทุกอย่างตั้งแต่ Architecture Interior และ Landscape มันมาในเรื่องเดียวกันตั้งแต่ตอนแรก” อรรถพร กล่าว “แต่เราต้องการที่จะสร้างดีไซน์ที่มันตอบสนองความต้องการของชีวิตปัจจุบัน และอยู่ได้นานๆ ไม่ Age เพราะฉะนั้นนอกจากสถาปัตยกรรมคำว่า BEATNIQ มันไม่ใช่แค่ตัวตึก สวน หรือสระว่ายน้ำ แต่ BEATNIQ เป็น Residential ที่รวมถึงคนที่มาอยู่ด้วยกันด้วย ทุกคนที่มาอยู่เขาก็น่าจะมีความชอบ มีสไตล์ที่สนใจเรื่องงานออกแบบและศิลปะ”

รายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติมของโครงการสามารถติดตามได้ที่ : www.beatniq32.com