AMSTERDAM & EINDHOVEN – A Strolling for Inspiration by SRINLIM
Take your travel trip to inspire and burn your engines on with 8 Museums, 1 Design Hub, 1 Degree Show, 3 Cities and 2 Countries.
Writer & Photograph : SRINLIM
ช่วง Dutch Design Week เมื่อปลายปีที่ผ่านมา เอิ้นได้มีโอกาสไป Amsterdam, Eindhoven และ Berlin เพื่อ Refresh เติมเชื้อเพลิงให้กับการทำงาน แล้วตามเก็บ Inspiration จาก Museum ในเมือง บรรยากาศของงานแสดงที่เปิดอยู่หลายแห่งอันตามแต่ที่เอิ้นประทับใจจนอยากมาเล่าเผื่อจะส่งแรงบันดาลใจต่อให้ใครได้อีกเรื่อยๆ
เมื่อเริ่มจาก Amsterdam
  หากเปรียบเทียบเมืองเป็นบุคคลิกของคนประเภทต่างๆ ในมุมที่เอิ้นได้สัมผัส Amsterdam เปรียบเสมือนผู้หญิง ที่มีความเนี้ยบ ละเมียด แต่มีเอกลักษณ์ และแหกขนบในบางท่วงที เป็นคนมีเสน่ห์ที่สามารถสัมผัสได้หลายมุม แต่สำหรับสาย Museum ที่มาเยือนที่นี่ สถานที่ที่ไม่ควรพลาดเวลามาเยือนเลยคือ ณ Museum Square (Museumplein) เป็นจุดศูนย์กลางของเมืองที่มีพิพิธภัณฑ์ศิลปะคุณภาพระดับต้นๆ หลายแห่งอยู่รายล้อมสวนสาธารณะ
The Rijksmuseum
  ส่วนตัวการมาเยือนที่นี่เริ่มมาจากความประทับใจใน Documentary Movie เรื่อง “The New Rijksmuseum” ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบูรณะพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ทางเดินและทางปั่นจักรยานในตำนานที่การปิดทางสัญจรตรงนี้กลายเป็นเรื่องราวดราม่าของเมือง แม้คนท้องที่จะไม่ได้ตื่นเต้นอะไรกับมันมากนัก แต่เมื่อได้มาเห็นสถานที่จริงแล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าประทับใจกับ Museum แห่งนี้เป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเพราะทางเดินส่วนนี้ได้สะท้อนเอกลักษณ์ของความเป็นเมืองในแบบ Amsterdam ที่ไม่เหมือนที่ใดในโลกแน่นอน
  อีกส่วนหนึ่งเพราะที่นี่เป็นพิพิธภัณฑ์ที่เก็บรวบรวม ศิลปะแทบจะทุกแขนงของชาว Dutch เอาไว้ แต่ละชิ้นนั้นล้วนมีความวิจิตร และประณีต ที่ล้วนบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ในการทำงานศิลปะพื้นถิ่นเป็นอย่างมาก ที่โดดเด่นประทับใจจะเป็นภาพ Paint และงานแกะสลักไม้หรือการทำ In-Lay บนงานไม้ โดยงานศิลปะที่ถูกเก็บสะสมอยู่ที่นี่ส่วนใหญ่สะท้อนเรื่องราวการปกครองและศาสนจักร อันประกอบไปด้วยเรื่องราวตามในคัมภีร์ไบเบิล รวมถึงรูปเคารพในคริสต์ศาสนาจักรที่หลากหลายรูปแบบตามยุคสมัยนั่นเอง
นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ชาว Dutch นั้นขึ้นชื่อเรื่องการเดินเรือ ความรุ่งเรืองของการเดินเรือนี้นอกจากจะปรากฎเป็นหลักฐานทางภาพวาด รวมถึงบันทึกการเดินเรือ และการออกรบทางทะเลแล้ว ยังสามารถนับรวมงานศิลปะที่ได้รับอิทธิพลทางเทคนิคงานช่างศิลป์ทางตะวันออก หรือสิ่งของที่ถูกยึดมาจากประเทศใต้อาณานิคมแล้ว ก็เป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานถึงความเป็นผู้นำในการคมนาคมทางน้ำของชาว Dutch เป็นอย่างยิ่ง
STEDELIJK Museum
  เป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมงาน Modern and Contemporary Art and Design ที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ STEDELIJK ถูกสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1895 และหลังจากได้รับการบูรณะใหม่จากฝีมือการออกแบบของ Benthem Crouwel Architects ปีกอาคารส่วนใหม่ถูกออกแบบเชื่อมต่อกับอาคารเดิม แต่เมื่อปีกอาคารเดิมที่มีหน้าตาเช่นยุค Dutch Neo Renaissance กับปีกอาคารใหม่รูปทรงเหมือน “อ่างอาบน้ำ” นั้น พออยู่ติดกันจึงเห็นความ Contrast ที่สะดุดตาได้อย่างชัดเจน โดยช่วงที่ไปเยือนพิพิธภัณฑ์นั้นกำลังจัดนิทรรศการชั่วคราวงาน Book Design 2018 ซึ่งแสดงปกหนังสือที่ได้รับคัดเลือกจำนวน 30 เล่ม ได้อย่างน่าสนใจ
The Van Gogh Museum
  อีกหนึ่ง Museum ที่อยู่ในบริเวณจุดศูนย์กลางของเมืองเช่นเดียวกัน The Van Gogh Museum ถูกแบ่งออกเป็น 2 อาคาร คืออาคารนิทรรศการถาวร และอาคารนิทรรศการชั่วคราว ส่วนนิทรรศการชั่วคราวที่กำลังจัด Art Installation ในช่วงนั้นเป็น Narrative Installation ให้ทั้งห้องมีบรรยากาศร่วมที่สามารถพาผู้ชมเข้าไปมีส่วนร่วมในความรู้สึกภายในจิตใต้สำนึก และนำเสนอออกมาได้อย่าง Impact ต่อผู้ร่วมชมให้ได้ร่วมสัมผัสในสิ่งที่ Vincent Van Gogh เคยถ่ายทอดความรู้สึกลงบนผ้าใบออกมาเป็น 'Van Gogh Dreams: A journey into his mind' ซึ่งเป็นช่วงชีวิตช่วงหนึ่งของ Van Gogh ระหว่างการย้ายจาก Paris ไป Arles เมืองทางใต้ของฝรั่งเศส เพราะเป็นช่วงที่สร้างผลงานซึ่งเป็นที่มาของงานมีชื่อเสียงหลายชิ้นของเขา เรียกได้ว่าเป็นช่วงพลิกผันทางอารมณ์อันส่งผลต่องานของ Van Gogh มากที่สุด
จุดหมายถัดมาคือ Eindhoven
  Eindhoven เมืองใกล้ประเทศเบลเยี่ยมซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 5 ของภาค ใช้เวลาเดินทางจาก Amsterdam โดยรถไฟประมาณชั่วโมงครึ่ง เป้าหมายของการมาที่นี่ไม่ใช่เพื่อมาเยือน Museum ใด แต่เพื่อมา ชม Dutch Design Week 2018 (DDW2018) เทศกาลงานออกประจำปีที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปเหนือ เนื่องด้วยเวลาจำกัด จึงเจาะจงไปที่ Highlight ที่น่าสนใจ ซึ่งก็คือ SECTIE - C เพื่อชม Design Studio และดูงานของ Degree Show ของนักศึกษา Design Academy Eindhoven โดยเฉพาะ
SECTIE - C
- Design Studio
  ในช่วง Design week ได้เปิดให้เข้าชมพื้นที่ หลายๆ สตูดิโออนุญาตให้เดินเข้าไปชมได้เลย SECTIE - C มีความกึ่งๆ เป็น Creative - Designer Hub - มีพื้นที่คล้ายโรงงานที่ถูกปรับทำเป็น Design Studio หรือ Lab ทดลองการทำงาน ของเหล่านักออกแบบ และเหล่า Thinker ในเมือง Eindhoven พื้นที่ส่วนกลางเปิดโล่งมีหลายอาคาร แต่ละอาคารนั้นนักออกแบบเองก็ได้จัดสรรพื้นที่ของตัวเองในลักษณะกึ่งประดิษฐ์ของ DIY ทำใช้ในพื้นที่ของตนเองกันมาก ทำให้เห็นถึงธรรมชาติ และตัวตนของแต่ละสตูดิโอ แม้แต่ในพื้นที่ Public Space เอง พวก Street Furniture จำพวกม้านั่ง เก้าอี้ ถูกวางอยู่ตามจุดต่างๆ นั้นก็ถูก Custom Made โดยแต่ละ Studio ของที่นั่นจะสร้างสรรจากวัสดุที่กันแต่ละชนิด ทำให้ที่นี่มีคาแรคเตอร์ความเป็น Creative Space อย่างชัดเจน
Design Academy Eindhoven (BA, MA)
- BA & MA Students
เป็นอีกจุดที่จะต้องไม่พลาดชม เพราะทุกๆ ปีจะมีงานไอเดียสดใหม่จากนักศึกษาในรั้ว Design Academy Eindhoven ทั้งปริญญาตรี และปริญญาโท งานของนักศึกษาที่นี่มีพลังล้นเหลือ งานสร้างสรรที่ส่งต่อพลัง และ Passion ได้อย่างน่าประทับใจ ซึ่งในปีนี้งานประเภทที่มาแรงเป็นงาน 3D Printing หรือการ Concern เรื่อง Humanities โดยมีงานที่อยากนำมาเล่าต่อ 4 งาน ด้วยกัน
1) THE CONDITION OF AIR ( Michela Segato )
ชาว Dutch ใช้จักรยานกันมากกว่าจำนวนประชากรซะอีก ปัญหายางในจักรยานที่ไม่ได้ถูกใช้งานแล้วก็มีมากตามไปด้วยเช่นกัน Segato จึงนำปัญหานี้มาต่อยอด หาไอเดีย และการใช้งานใหม่ๆ ให้ยางในรถจักรยาน เกิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างยางในและอากาศ จากยางในรถจักรยานนำมาจับมัด เพื่อก่อเกิดรูปทรงใหม่ๆ ซึ่งแต่ละรูปทรงที่เธอสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น มีความน่าสนใจไม่น้อย มากไปกว่านั้น แต่ละชิ้นจะถูกนำมาต่อเข้าด้วยกันหลักการทำซ้ำ (Repetition) เพื่อเกิดเป็นการใช้งานใหม่ ที่่ยังเชื่อมโยงเข้ากับบริบทเดิมของวัสดุอยู่ เช่น เบาะนั่งมาออกแบบ ที่หุ้มหัวเข่า หมวกกันน็อคที่มีความเป็น Fashionable สำหรับขี่จักรยาน
2) PAPER PULP PRINTING ( Beer Holthuis)
“Printed paper is surprisingly strong” อย่างที่กล่าวไปว่าปีนี้งาน 3D Printing ของที่นี่มาแรง หัวข้อนี้ถูกพูดถึงจากหลากหลายแง่มุม แต่ที่น่าสนใจคือการตั้งคำถามของนักศึกษาคนนี้ว่า มันไม่มีวัสดุที่ Sustainable ในระบบ 3D Printing อย่างแท้จริงหรือ? และมันสามารถจะกลายเป็น Eco Friendly ได้หรือไม่? และจะแข็งแรงขนาดไหน? การหาคำตอบคือการทดลองจึงนำขยะจากกระดาษเหลือใช้มาบด และปั่นเพื่อนำมาฉีดออกมาเป็น 3D Printing ที่มีความแข็งแรงพอตัวเลยทีเดียว
3) Tiger Penis Project ( Kuang-Yi Ku)
Kuang-Yi Ku เป็นนักศึกษาจากไต้หวัน ที่มีพื้นเดิมเป็นทั้งทันตแพทย์และนักออกแบบ การตั้งคำถามของเขาจึงมักอยู่บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ และงานออกแบบให้เป็นเรื่องผสมผสานความเป็นตัวเองออกมาได้อย่าง Strong ทีเดียว คำถามของ Ku สะท้อนเรื่องวัฒนธรรมความเชื่อ ทั้งยังเกี่ยวกับศาสตร์การผลิตยาของทั้งตะวันออกและตะวันตก โดยความเชื่อมโยงที่เขายกตัวอย่างความคิดนี้คือการทดลองผลิตยาที่เพิ่มสมรรถภาพทางเพศของทั้งสองทวีป ในศาสตร์ยาจีนแผนโบราณมีความเชื่อในการใช้อวัยวะเพศของเสือ ในขณะที่ตะวันตกมีความเชื่อในเรื่องนี้จากการรับประทานหอยนางรม ความคิดของ Ku คือการปลูกถ่าย อวัยวะเพศของเสือกับหอยนางรมให้เกิดมาเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ที่ตอบสนองตามความเชื่อนี้แทน เพราะผลที่ได้มาคือได้ยาที่เพิ่มสมรรถนะทางเพศโดยลดการฆ่าเสือลง เนื่องจากปริมาณ Demand และ Supply ต่อความเชื่อนี้ไม่เท่ากัน แนวคิดการแก้ปัญหาสิ่งนี้ส่งผลสืบเนื่องในวงกว้าง จนทำให้โปรเจคนี้ได้รับรางวัล Gijs Bakker Awardประจำปี 2018 นี้ด้วย
4) THE MULTI - LOCALS ( Sia Hurtigkarl Degel )
www.multi-locals.com ตามหาตัวตนของความเป็น Multi - Local ในโลกอนาคต เนื่องจากในโลกปัจจุบันวัฒนธรรมหลายอย่างถูกผสมผสานกัน จาก Elements เล็กๆ อันมีความเป็นเอกลักษณ์จากหลากหลายถิ่นเมื่อ Hybrid กันแล้วจะกลายเป็นอะไร? สิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นสิ่งที่ต้องการประกาศตัวตนออกมาภายนอกได้ แล้วคำถามคือ ‘Where are you a local?’ จะสามารถบ่งบอกเอกลักษณ์แห่งอนาคตได้อย่างไร? วัสดุต่างๆ ที่ถูกเลือกในท้องถิ่นนั้นๆ ถูกนำประกอบเข้าด้วยกัน แล้วยังสามารถบ่งบอกได้ถึงเอกลักษณ์แห่งอนาคต และความสวยงามเฉพาะตัวของพื้นถิ่นนั้นได้