JUN SEKINO ARCHITECT & DESIGN
2007 - 2018
Baan CHAN 2007

บ้านจัน บ้านตากอากาศที่โดดเดี่ยวอยู่ริมทะเลจังหวัดจันทร์บุรี อยู่ในหน้าผาที่อยู่ระหว่างภูเขา เจ้าของบ้านต้องการให้บ้านนี้เป็นบ้านตากอากาศหนีหนาวที่เยอรมันมาพักกับครอบครัวที่นี่ เงียบสงบและความเป็นส่วนตัว รูปทรงบ้านมีลักษณะเป็นบังเก้อปูน ตัวบ้านหลักซึ่งประกอบไปด้วยห้องครัว ห้องกินข้าว สระว่ายน้ำ ระเบียงถูกออกแบบให้เป็นส่วนต่อเน่ืองกันและฝังเข้าไปในภูเขา มีห้องนั่งเล่นอยู่บนยอดเขา ชั้นสองเป็นห้องนอนที่เท่ากันสามห้อง และส่วนที่เชื่อมกับภายนอกซึ่งเป็นหัวใจหลักของบ้าน คือ การทำบันไดเชื่อจากกลางบ้านลงไปทะเลในชายหาดหาดส่วนตัวได้ตลอดเวลา

“ที่ตรงนี้เห็นพระอาทิตย์ตกผ่านสระน้ำส่วนตัวทุกวัน และทุกห้องจะเห็นภาพนี้” คำพูดของเจ้าของบ้านชาวเยอรมันบอกความรู้สึกผ่านมุมมองของเขาในฐานะเป็นช่างภาพ

Hansa Samui 2008

หรรษาสมุยเป็นโรงแรมตั้งอยู่บนหาดบ่อผุด มีห้องพักที่เห็นวิวทะเล ห่างจากหมู่บ้านชาวประมงไม่ถึง 500 เมตร อาคารสูง 3 ชั้น ล้อมสระว่ายน้ำอินฟินิตี้ที่วางให้รับกับทะเล มีการวางผังอาคารห้องพักกับการใช้งานในโรงแรมแยกอาคารออกมาจากกันตัวอาคารใช้สีส้มแดงปูนให้กลมกลืนกับพื้นที่โดยรอบ

Nature House 2008

อันดับแรกคือเรื่ออง Perception ภายในสู่ภายในและภายในสู่ภายนอก ด้วยแนวคิดที่ว่า ทุก Space ต้องสัมผัสและมองเห็น “น้ำ” Space ที่เกิดขึ้นมาถูกออกแบบจาก Plane ระนาบในแนวแกน y ที่ตั้งฉากกับ Siteใช้การผลักเข้าไป และเพลนเหล่านั้นทำหน้าที่ป้องการมุมมองจากภายนอกเข้ามา รวมถึงการควบคุมเรื่องของแสงปริมานแสงแดดที่เข้ามาในแต่ละพื้นที่การใช้สอย เรื่องสำคัญคือแสงสว่าง ครอบคลุมถึงเรื่อง Positive Light + Negative Light โดยใช้ฝ้าเป็นองค์ประกอบหลักของบ้านหลังนี้ ทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนแสงให้คลอบคลุมที่ว่างทั้งหมด ส่วนวัสดุที่ใช้คือการผสมผสานของธรรมชาติ หิน ไม้ ประกอบกับของที่ทำสำเร็จรูป เนื่องจากต้องการให้ได้ความรู้สึกของบ้านสมัยใหม่แต่มีความเป็นธรรมชาติตามที่เจ้าของบ้านต้องการ

Three House 2009

3 แกน 3 mass 3 later 3 user การเกิดพื้นที่ว่างจากระนาบสามแผ่นเกิดเป็นพื้นที่ใช้สอย 2 ปริมาตรหลัก คือพื้นที่ Publis และ Privte และการวาง Layout ให้เกิด Court ด้านหลังที่เป็นพื้นที่ปิดล้อมส่วนตัว มีการสร้างหลังคาขึ้นมาอีก Layer เพื่อทำหน้าที่รับแดดแทนอาคารหลักและมีที่ว่างระหว่าง หลังคาและอาคารเพื่อการระบายอากาศแบบธรรมชาติ
3 axis เกิด มิติที่ว่างระหว่างระนาบเกิดเป็น mass
3 mass แยก ส่วน Publis, Semi-public และ Publis
3 layer เกิดผิวอาคารสามระยะเพื่อการใช้งานแตกต่างกัน แสงแดด ฝน การเชื่อมต่อการใช้งาน ความปลอดภัย แสงในเวลากลางคืน
3 user พื้นที่ว่างสำหรับสมาชิกสามคนในบ้านหลังนี้

Izen 2010

Hi wall เป็น Symbolism ของลาดพร้าว 71 ซึ่งยังไม่มีอาคารสูงขนาดใหญ่เกิดขึ้น และใช้แนวความคิดหลักคือ Composition of perpendicular การใช้การตั้งฉากกันของเส้น มาสร้าง Element ของอาคารทั้งหมด ทั้งแปลน รูปด้าน และ Mass รวมของอาคาร การตั้งใจที่ให้ผิวของอาคารไม่เสมอกันเพื่อสร้างความรู้สึกส่วนตัวบ้างสำหรับคนที่พักอาศัย

บ้านเขาใหญ่ 2010

บ้านพักอาศัยเดี่ยว 2 ชั้น ที่เขาใหญ่ บ้านวางตัวแนวยาวหันหน้าปะทะทิศเดียวกับทางเข้าอย่างเรียบง่าย และเรือนหลังเล็กวางตัวตั้งฉากโอบพื้นที่หลังบ้าน ลักษณะบ้านโปร่งโล่งรวมถึงช่องแสงรอบผนังของชั้น 2

Bridge House 2011

‘ตั้งใจจะทำบ้านของตัวเองแต่ไม่ต้องการแยกออกไปอยู่ห่างจากครอบครัวเดิมซึ่งก็คือพ่อแม่ ในเมื่อมีโอกาสทำได้ก็อยากอยู่ใกล้ชิดครอบครัวให้มากที่สุด แต่ก็ยังมีพื้นที่ส่วนตัวและบ้านที่มีความชอบเป็นส่วนตัว’ การสร้างบ้านในที่ดินเดิมเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและตอบโจทย์ของคนในยุคที่อยู่เป็นครอบครัวรวมแต่ต้องการพื้นที่ส่วนตัว ตัวบ้านจะแตกต่างจากบ้านเดิมโดยแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนที่นั่งเล่นและทานข้าว เป็นการข้ามสะพานไปมา โดยมีสระน้ำเป็นตัวแบ่งกั้น และใช้สระเป็นคอร์ทตรงกลางเป็นตัวสะท้อนแสงธรรมชาติเข้าบ้าน มีการใช้องค์ประกอบเหล็กและไม้จริง ทำให้มีความรู้สึกแข็งและซอฟในพื้นที่เดียวกัน และใช้องค์ประกอบเส้นตรง เส้นตั้ง ทอนให้ส่วนประกอบอาคารบางและเล็กลง สิ่งที่ได้ตามมาคือ Shade ของแสงและเงาในแต่ละช่วงเวลาของวัน

Tinman 2011

Tinman คือ ชื่อบ้านจากนิยายกระป๋องเหล็กที่เจ้าของชอบ มีความถ่อมตน ตรงไปตรงมาและไม่ซับซ้อน แต่ชัดเจนเป็นที่สุด เป็นบ้านสามชั้นใจกลางกรุงเทพที่มีที่ดินค่อนข้างสูงในปัจจุบัน ตัวอาคารด้านหน้าหันหน้าเข้าทิศตะวันตกเป็นปัญหาหลักของบ้านนี้ เลยทำให้เกิด Surface อาคารด้านนี้สองชั้นเพื่อกรองแสงแดดของเขตเมืองร้อนไปปะทะอาคารโดยตรง เจ้าของเองก็ต้องการใช้ชีวิตหลักแต่ละวันในส่วนนี้ ทั้ง ทำงาน นอน อารมณ์เหมือนอยู่ในห้องเก็บของก็คือหนังสือของเขา
ไฮไลท์หลักของบ้านคือบันไดที่เชื่อมการใช้งานของพื้นที่ 600  ตรม. สี่ชั้น บันไดนี้ทำหน้าที่เชื่อมต่อการสัญจร และ เป็นตัวเชื่อมของคนในครอบครัว
ไอเดียหลักคือ เอาสวนมาไว้ชั้นบนสุดแทนเพื่อให้เห็นมุมมองของ  กทม.  และอากาศที่โปร่งกว่า มีการใช้สวนแนวตั้งแทนการปลูกบนพื้นและเป็นพื้นที่ขยายในอนาคตได้ทันที

Bon House 2012

บ้านสองชั้นครึ่งขนาด 600 ตารางเมตร ตั้งใจให้ความรู้สึกเหมือนเอาบ้านเหล็กไปไว้บนฐานคอนกรีต ทำให้ตัวบ้านชั้นครึ่งด้านบนดูชัดเจนและเด่นกว่า ชั้น 1 เป็นพื้นที่ส่วนกลาง ชั้นบนและชั้นลอยเป็นพื้นที่ส่วนตัวของแต่ละคน

Casa Enrico 2012

บ้าน สีขาว ที่ S. Vito al Tagliamento อิตลี่ เจ้าของชาวอิตลี่คิดว่าเขาอยากได้บ้านกล่องขาวคลีน ในไอเดียคือ โยนกล่องสี่เหลี่ยมขาวๆ สามสี่กล่องลงไปในพื้นทุ่งหญ้าสีเขียวและเปิดด้านนึงของกล่องเป็นพื้นที่กระจกเต็มพื้นที่ บ้านจะมีคอร์ทตรงกลางเป็นตัวเชื่อม Mass ทั้งสามก้อนเข้าด้วยกัน

Nakornchaisri House 2012

บ้านขนาด 2500 ตรม. ที่อยู่กลางพื้นที่ราบเรียบ เป็นการออกแบบบ้านสามชั้นให้ดูเป็นสองชั้น ตั้งอยู่บนเนินหญ้า การใช้งานหลักจะเริ่มที่ชั้น 2 และส่วน Service จะอยู่ชั้น1 ชั้นสองเป็นพื้นที่ส่วนกลางและชั้นสามเ็นพื้นที่แยกสองครอบครัว ตั้งใจให้งานระบบอยู่ในแกนผนังตรงกลางบ้าน รวมถึงการนำเอาแสงธรรมชาติเข้ากลางบ้านจากแกนผนังสองชิ้นนี้ด้วย หมายความว่าพื้นที่รอบกรอบตัวบ้านจะไม่มีอะไรมาปิดบังวิว ที่คล้ายๆ เอาบ้านมาไว้กลางสนามกลอ์ฟ

PK House 2012

P.K. บ้านเป็นบ้านเดี่ยวสำหรับครอบครัว 5 หลังตั้งอยู่ภายในอาคารที่พัฒนาแล้วในเขตชานเมืองของกรุงเทพฯ สถาปนิกเลือกที่จะระบุพื้นที่เปิดโล่งก่อนเพื่อให้อาคารมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งพื้นที่นี้จะใช้สำหรับการพักผ่อนการออกกำลังกายและการเพาะปลูก พื้นที่ภายในรวมทั้งห้องนั่งเล่นและห้องรับประทานอาหารได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่ใช้สอยร่วมกันสำหรับให้บริการสมาชิกทุกคนในกิจกรรมร่วมกันของพวกเขา ด้วยพื้นที่สองเท่าในบางพื้นที่ทำให้พื้นที่นี้กว้างและมีอากาศถ่ายเทสะดวก พื้นที่ชั้นที่สองจะเน้นเรื่องความเป็นส่วนตัวมากขึ้นโดยมีพื้นที่ทั่วไปซึ่งสามารถขยายได้ในอนาคตหากจำเป็น นอกจากนี้ด้วยการใช้ตาข่ายโลหะเป็นองค์ประกอบของอาคารผลกระทบจากแสงและเงาภายในพื้นที่จะเปลี่ยนไปตามกาลเวลาซึ่งจะสร้างการรับรู้เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์เช่นเดียวกันกับการระบายอากาศตามธรรมชาติของถิ่นที่อยู่

Vento Condo 2012

การสร้างพื้นที่ว่างระหว่างพื้นที่ส่วนตัวสามารถเกิดความเป็นส่วนตัวระหว่างกัน มีพื้นที่เชื่อมต่อสู่ภายนอกมากขึ้น รบกวนกันน้อยลงระหว่างยูนิต มีพื้นที่ผนังเชื่อมต่อภายนอกถึง 3 ด้าน รวมถึงห้องน้ำที่ See through ลดความอึดอัด เป็นสถาปัตยกรรมที่เกิดจาก Line ในเส้นตั้งและนอนมาจัดองค์ประกอบใหม่ให้มีส่วนระนาบที่ทึบและโปร่ง สลับกันไปทั้งโครงการให้เกิดมิติที่ ทึบ, กึ่งทึบ, กึ่งโปร่ง, โปร่ง

บ้าน เทพารัก 2012

บ้านที่ต่อเติมส่วนขยายจากพื้นที่บ้านเดิม มีลักษณะที่ดินแคบยาว จึงสนใจในมิติของ SECTION ใช้วัสดุเดียวเป็นหลักในการเล่าเรื่องและเป็นตัวถ่ายระหว่างพื้นที่สู่พื้นที่ และให้บ้านดูต่อเนื่อง กว้างกว่าที่รู้สึก แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องขนาดของห้อง เน้นการออกแบบภายในมากกว่ารูปภายนอก

K22 2013

K22 เป็นบ้านพักสำหรับครอบครัว 4 ครอบครัวพ่อแม่และลูก 3 คนอยู่ด้วยกันกลางเมืองกรุงเทพฯ
เนื่องจากบ้านอยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าบ้านจึงสามารถเข้าถึงได้จากด้านใดด้านหนึ่งจึงเหลืออีกด้านหนึ่งให้เหมาะกับการเป็นสวนส่วนตัว ทางเข้าเชื่อมโยงกับทางเดินหลักซึ่งล้อมรอบไปด้วยห้องทำงาน รวมทั้งห้องครัวสำหรับแม่ พื้นที่ทำงานสำหรับพ่อและเด็ก ที่ทำงานและห้องนั่งเล่นสองห้องอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ติดกับทางเดิน และอีกห้องหนึ่งหันหน้าไปทางสวนที่สมาชิกทุกคนสามารถใช้เวลาพักผ่อนร่วมกัน มีหน่วยไดรฟ์ข้อมูลคู่โปรแกรมของชั้นหลักและชั้นลอยมีความยืดหยุ่น; ช่วยให้ครอบครัวสามารถสร้างพื้นที่ที่ต้องการได้ โครงสร้างและรูปแบบของการออกแบบยังมีโอกาสในการปรับหรือขยายหน่วยงานในอนาคตต่อไปเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตและการเติบโตของครอบครัว

Leaves Of Grass 2013

ร้านกาแฟ ที่อยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม ใกล้ๆ แม่น้ำ โดยพื้นที่มีต้นไม่เยอะ สังเกตเห็นใบไม้เยอะที่ร่วงหล่นตกพื้น เป็นภาพปกติของพื้นที่นั้น เลยคิดว่า ถ้าเรานั่งใต้ใบไม้ที่หล่นลงมา เหนือหัวเราจะเป็นไง เลยสร้างพื้นที่ที่ใบไม้ลอยอยู่เหนือหัวเรา และการวางผังเป็นวงกลม ล้มต้นไม้เดิมของพื้นที่

362 House 2014

คุณจูน เซคิโน สถาปนิกผู้ออกแบบเสนอให้ใช้กรุไม้เพื่อสร้างความอบอุ่น และดูเป็นกันเอง เข้าถึงง่ายให้กับตัวบ้าน ซึ่งทางเจ้าของบ้านก็เห็นตรงกัน และตัดสินใจใช้ไม้จริงทั้งหมด ความเปลี่ยนแปลงของไม้จริงที่จะเกิดขึ้นตามกาลเวลาถือเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง สำหรับการออกแบบสเปซภายในนั้น ทางผู้ออกแบบจึงเลือก Double Space ให้เป็นพื้นที่หัวใจของบ้าน ซึ่งอยู่บริเวณ Common Area ที่ถูกออกแบบให้ลักษณะแบบโอเพ่นแปลน (Open Plan) เพื่อให้ทุกฟังก์ชั่นหลอมรวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ในช่วงเวลากลางวันจะเปิดช่องเปิดทั้งหมด เพื่อให้ลมจากภายนอกเข้ามาภายในบ้านแทนการเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดทั้งวัน

MTL 2014

MTL เป็นโปรเจกท์ออกแบบอาคารสำนักงานขนาด 3,000 ตารางเมตร สูง 4 ชั้น ผู้ออกแบบมีความตั้งใจที่จะออกแบบให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมภายนอก บวกกับการที่เจ้าของโครงการมีความตั้งใจให้อาคารสำนักงานแห่งนี้ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นบ้านหลังหนึ่งของพนักงาน ในแง่ของการออกแบบ ผู้ออกแบบใช้อิฐจำนวนกว่า 40,000 ก้อนคลุมรอบอาคาร ทำหน้าที่เป็น Façade ให้ความรู้สึกที่ Imperfect ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่ผู้ออกแบบมีความตั้งใจไว้ โดยที่ Façade อิฐให้ความรู้สึกที่แข็งแรง และยังรู้สึกโปร่งสบายสำหรับผู้ใช้งานภายในเช่นกัน

Brick House 2014

ครอบครัวเจ้าของบ้านต้องการบ้านหลังใหม่บนที่ดินเดิมที่โดนน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพ 2011 โดยนำอิฐมาจัดเรียงเรื่องราวใหม่จากสิ่งที่คุ้นเคย เทคนิคธรรมดาแบบเดิมๆ แต่ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไป Jun Sekino คิดอย่างชัดเจนว่าต้องการให้อาคารนี้เสร็จแล้วมันเก่าเลย มีความถ่อมตนแสดงตัวแบบตรงไปตรงมา ไร้การปรุงแต่ง ช่างก่อแบบไหนก็ต้องใช้แบบนั้น บ้านหลังนี้ต้องตอบโจทย์การใช้งานแบบทั้งวันทั้งคืน สะท้อนการใช้งานเชิง Tropical Living จริง มันคืออารมณ์บ้านแบบไทยๆ ที่มีพื้นที่ส่วนกลางที่ทุกคนจะมาเจอใช้ร่วมกัน รวมถึงผนังด้านในเป็นกระจกหมด ทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศที่ดี มีใช้แสงธรรมชาติเข้าถึงทุกส่วนของบ้าน และมีการเชื่อมต่อทางสายตาทำให้รุ้สึกว่าไม่ได้อยู่คนเดียว

โรงเรียนพอดีพอดี 2014

บ้านหนองบัว โรงเรียนประจำตำบลขนาดเล็กสำหรับเด็กอายุ 5 -10 ขวบ ตัวโรงเรียนไม่ได้ออกแบบเผื่อเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งตัวอาคารมีความอันตรายเกินกว่าจะเข้าไปใช้งานได้ตามปกติ ทางองค์กรณ์ D4D ได้ชักชวนสถาปนิก 9 ทีมในประเทศและอีกหลายฝ่ายเข้ามาช่วยเหลือแบบสมัครใจ จึงเป็นที่มาของชื่อ ‘โรงเรียน พอดี พอดี บ้านหนองบัว’ มีการใช้โครงสร้างเหล็กเป็นวัสดุหลัก ตามเงื่อนไขหลักที่เรานำเสนอการออกแบบโครงสร้างเหล็กโครงกระดูกมีความยืดหยุ่น โครงสร้าง unrigid สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนเมื่อเกิดแผ่นดินไหว การออกแบบโดยให้เกิดภาวะอากาศปกติ ใช้แสง ลม การระบายแบบธรรมชาติเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิอากาศภาคเหนือ คาแรคเตอร์อาคารต้องการให้บางและเบามีลักษณะแบบ ’ศาลา’ มีเฉลียง คือพื้นที่ semi indoor outdoor เป็นพื้นที่เหมาะกับพฤติกรรมและอากาศแบบไทย

55 House 2015

เป็นบ้านหลังหนึ่งที่เกิดจากการแทรกคอร์ทขนาดใหญ่กว่า 250 ตารางเมตร เข้าไปภายในบ้านขนาด 650 ตารางเมตร ใจกลางกรุงเทพมหานคร โดยมีจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจจากซินแส ในการใช้คอร์ทจัดการพื้นที่ และมุมมอง เพื่อให้คนที่เข้ามาภายในตัวบ้าน มองเห็นจุดสำคัญของตัวบ้าน ในขณะเดียวกันก็ช่วยจัดการเรื่องความเป็นส่วนตัวให้กับตัวบ้านไปในตัว

713 House 2015

เป็นบ้านโครงสร้างเหล็กทั้งหลังบนพื้นที่ขนาด 300 ตารางเมตร เป็นบ้านที่มีจริตแบบไทย พื้นที่ภายในบ้านทั้งหลังถูกเชื่อมต่อกันโดยมีชานเป็นหัวใจของบ้าน ชานทำหน้าที่เป็นทั้งตัวกำหนดความสัมพันธ์ของการใช้งานภายในบ้าน และทำหน้าที่เชื่อมต่อคนบ้านในขณะเดียวกัน

Nakornchaisri 2 House 2015

เป็นบ้านหลังที่สองของเจ้าของโครงการ เป็นบ้านพักตากอากาศ ขนาด 3 หลัง 3 ห้องนอน ติดริมแม่น้ำนครชัยศรี ตั้งอยู่กลางไร่ส้มโอ ขนาด 5 ไร่ แลนด์สเคปจึงกลายเป็นพระเอกสำคัญของงานชิ้นนี้

O Tree 2015

เป็นโปรเจกท์บ้าน 1 ชั้น ซึ่งตัวบ้านถูกปกคลุมด้วยต้นไม้ใหญ่ โดยที่ทุกวิลล่ามี SKYLIGHT ส่วนตัวในแต่ละพื้นที่ของตัวอาคาร ซึ่งทำหน้าที่เป็นนาฬิกาแดดให้กับทุกส่วนของบ้าน บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลา ทำให้เกิดปรากฏการณ์ภายในบ้านที่แตกต่างไปในแต่ละวัน และมีคอร์ทกลางบ้านซึ่งเป็นพื้นที่ LANDSCAPE ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมพื้นที่ทั้งหมดเข้าด้วยกัน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อยู่อาศัย และบริบทของอาคารเป็นอย่างดี

Steel 2 2015

STEEL ll เป็นโปรเจกท์บ้านพักอาศัยที่อยู่ร่วมกับพื้นที่สำนักงาน โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ้าน สามารถมองเห็นสมาชิกภายในครอบครัวได้ถึงแม้จะอยู่กันคนละชั้นพักอาศัย ในแง่ของวัสดุและรูปแบบอาคาร ผู้ออกแบบตั้งใจให้บ้านหลังนี้แสดงตัวตนออกมาโดยการใช้โครงสร้างเหล็กทั้งหลัง ไม่ปรุงแต่งสีจากวัสดุต่างๆ ที่นำมาใช้ และสร้างมิติที่แตกต่างกันระหว่างมุมมองจากคนภายนอก และมุมมองของผู้อยู่อาศัยภายใน

Subtuil House 2015

เจ้าของโครงการต้องการสร้างบ้าน 1 ชั้น โดยใช้ แกน เป็นตัวแบ่งพื้นที่ใช้สอยส่วนต่างๆ รวมถึงเป็นโครงสร้างหลักของบ้าน ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีน้ำตกส่วนตัวจากกำแพงหลักของอาคารช่วยทำหน้าที่ระบายอากาศภายในบ้าน และเป็นตัวเชื่อมบริบทเข้ากับ CONTEXT ที่เป็นป่าโดยรอบเข้าด้วยกัน มีหลังคาเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยแบ่งพื้นที่ และช่วยรับน้ำทั้งหมดลงมายังกำแพงน้ำตกที่นอกจากจะสร้างความสวยงามแล้ว ยังทำหน้าที่เป็น FUNCTION และ STRUCTURE ในเวลาเดียวกัน

House 58 2016

House 58 บ้านพักอาศัยในซอยสุขุมวิท 58 ที่เจ้าของบ้านต้องการใช้เป็นที่พักอาศัย และดีไซน์ออฟฟิศ ผู้ออกแบบพยายามทำให้โปร่งมากที่สุด เพื่อให้รับลม และชมวิวพื้นที่ร่มรื่นโดยรอบได้ 100% แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้อยู่ จึงเป็นที่มาของ Façade ระแนงไม้รอบๆ และอาคารชั้น 2 ทั้งหมด การห่อหุ้มทำให้อาคารชั้น 2 ดูลอยออกมาอย่างโดดเด่น

Lakornn นคร 2016

LeaConn หรือในชื่อภาษาไทยปักษ์ใต้ว่า "แลคอน นอนบาย" โรงแรมเล็กๆ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่เข้าไปปรับปรุงดีไซน์ที่ออกแบบเอาไว้แต่เดิมให้มีทิศทางที่ชัดเจนขึ้น ด้วยองค์ประกอบอันเรียบง่าย วัสดุอันธรรมดาสามัญ และช่างท้องถิ่น ลดความทึบตันของอาคาร ด้วยเปลือกนอกของอาคาร (Façade) ให้เป็นตารางสี่เหลี่ยมที่มีขนาดแตกต่างกันสลายปริมาตรทั้งหมด สถาปนิกสอดแทรกต้นไม้เข้าไปในตัวอาคารเพื่อสร้างความเป็นธรรมชาติและเติมความสดชื่น คล้ายกับกำลังอยู่ในสวนของจังหวัดภาคใต้แห่งนี้นั่นเอง

Navakitel นคร 2016

ผู้ออกแบบต้องการทำหน้าที่เสริม “สาร” ของอาคารให้ชัดเจนขึ้น โดยพิจารณาจากทำเลบริบทแวดล้อมของที่ตั้ง ทักษะของช่างท้องถิ่น และโครงสร้างสถาปัตยกรรมของเดิมที่ถูกสร้างไปแล้ว ทางออกก็คือการลดทอนความเทอะทะทึบตันของอาคารลง ให้มีความโปร่งบาง และคมชัดขึ้น ด้วยการใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่และมีราคาไม่แพง และโชว์งานระบบของอาคารขนาดใหญ่ 3,700 ตารางเมตร โดยทำให้มันกลายเป็นจุดเด่นของอาคาร ทั้งโครงสร้างแบบเปิดในลักษณะนี้ ยังช่วยให้แสงสว่างสาดส่องเข้ามาในอาคารได้ สะท้อนความต้องการให้ผู้มาพักมีประสบการณ์ที่ ‘ชัด ดิบ และจริงจัง’ ของเจ้าของได้อย่างดี

Rupu House 2016

เจ้าของโครงการต้องการขยายพื้นที่ส่วนตัวสำหรับครอบครัวขยายให้สามารถใช้ร่วมกับครอบครัวเดิมได้ โดยให้ความสำคัญกับพื้นที่ส่วนตัวของครอบครัวที่เอื้อต่อการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบ้านสองหลัง ด้วยการกำหนดช่องเปิดและ façade ของอาคารทั้ง 4 ด้าน โดยยังคงความเป็นส่วนตัวให้กับพื้นที่โดยรอบตัวบ้าน ผู้ออกแบบจึงมุ่งเน้นไปที่การออกแบบสัดส่วนของรูปทรงอาคารให้มีความชัดเจน ตรงไปตรงมา และเรียบง่าย

Tare House 2016

เจ้าของเชื้อสายอินเดียผู้มีความชื่นชอบศิลปะและงานคลาสสิคในอดีต และอยากให้มันถูกสะท้อนอยู่ในบางสัดส่วนหรือวัสดุ มีการแบ่งตัวอาคารเป็นสองฝั่งแล้วมีงาน landscape แทรกเข้าไปขั้นกลางตลอดทั้งบ้าน มีสะพานเชื่อมระหว่างการใช้งานพื้นที่ส่วนตัวและส่วนรวม

T.R.O.P Office 2016

พื้นที่ทำงานสำหรับนักออกแบบ Landscape ขนาด 1,000 ตรม มีทั้งหมด 3 ชั้น ทาง TROP ต้องการให้แสดงบุคลิกของสไตล์งานออกมาทางพื้นที่ด้วย การปิดด้านนอกแล้วมาเปิดด้านใน ทำให้เกิดคอร์ท 2 ที่ รองรับ Zone ของการทำงานและพักผ่อน ให้ดูเป็นงาน Landscape Object ที่เป็นเนื้อเดียวกับงานสถาปัตยกรรม

Yonk's House 2016

บ้าน 2 ชั้น ที่มีขนาดพื้นที่ใช้สอยประมาณ 300 ตารางเมตร มีสระน้ำอยู่บริเวณใจกลางของบ้าน ลักษณะสภาพพื้นที่แวดล้อมมีต้นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่ดินที่มีบริบทและมุมมองที่ดี ความต้องการของเจ้าของบ้านคือ ต้องการบ้านไทยร่วมสมัย จึงเกิดการตีความจากบ้านไทย คือการใช้วัสดุจากกระเบื้องดินเผามาปิดผิวโดยรอบทั้งหมดของอาคารซึ่งเป็นการสร้างภาษาให้กับตัวอาคารให้มีความเป็นสมัยใหม่เข้าด้วยกัน

บ้านติวานนท์ 2016

บ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยว สมาชิก 2 คน มีขนาด 250 ตารางเมตร ปลูกบนที่ดินลักษณะหน้าแคบลึก ผู้ออกแบบจึงได้สร้างจังหวะของผนังที่ไม่ฉากเพื่อสร้างมิติ และมุมมองที่ต่างไปของให้กับภายนอกและภายในของบ้านทรงกล่องหลังนี้

บ้านแพง นครพนม 2016

บ้านชั้นเดียว ที่จุดประสงค์การสร้างเพื่อรองรับ 4-5 ครอบครัว ลักษณะบ้านพื้นถิ่นของจังหวัดนครพนม แนวคิดของบ้านเกิดจากเจ้าของบ้านเป็นคนชอบปลูกต้นไม้ ผู้ออกแบบจึงได้สร้างแกนการใช้งานขนานไปกับความยาวที่ดิน และแทรกตัวบ้านไปกับตัว Landscape ที่ถูกใช้ในการแบ่งการใช้งานของพื้นที่ในตัวบ้าน ทำให้ผนังแต่ละส่วนของบ้านไม่ติดกัน เกิดความเป็นส่วนตัวของแต่ละครอบครัว

Ice Su House 2017

บ้านที่เจ้าของต้องการความเป็นส่วนตัวสูง ลักษณะของบ้านพักอาศัยที่เหมือนถูกยกวางอยู่บน Glass Box ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วน Service ส่วนพักอาศัยทั้งหมดถูกปกคลุมด้วยหลังคาขนาดใหญ่ ช่วยปิดบัง และเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้าน หลังจากนั้นจึงคว้านหลังคาด้านบนออกเป็น Sky Light นำแสงเข้ามายังภายในตัวบ้าน

Tooten Tao สุขุมวิท 49 2017

บ้านที่เกิดจากการทดลองกับรูปทรงสามเหลี่ยม ทั้งในเชิงพื้นที่ และสามมิติ ที่ตั้งอยู่บริเวณทางสามแพร่งในซอยสุขุมวิท 49 ซึ่งมีเจ้าของบ้านเป็นช่างภาพชาวเยอรมัน จึงถูกออกแบบให้มี Gallery เปิดโล่งอยู่ด้านล่าง และส่วนพักอาศัยด้านบน โดยมี Screen กั้นรหว่างผู้ใช้งานภายในบ้านกับความวุ่นวายของกรุงเทพด้านล่าง

Wurkon 2017

โปรเจกท์รีโนเวทอาคารสำนักงานเดิมซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของโครงสร้างอาคารเก่าเป็นปัจจัยหลัก ผู้ออกแบบจึงเลือกการใช้ Façade บานเกล็ดที่มีคุณสมบัติโปร่งแสง สามารถปรับเปลี่ยนองศาสำหรับให้ลมลอดผ่านเข้ามาในอาคาร แต่คงการใช้งานเดิมของมัน ทำให้อาคารมีภาพรวมที่เป็นภาษาเดียวกัน การใช้งานของคนภายในอาคารจะทำให้ Façade มีชีวิตชีวาและเกิด movement ด้วยตัวมันเอง

บ้าน 38 2017

บ้านเก่าที่มีอายุ ประมาณ 80 ปี ถูกรีโนเวทโดยใช้วิธีการเก็บอาคารเก่าไว้ แต่เปลี่ยนการใช้งานให้ตอบสนองชีวิตของคนในปัจจุบันเข้าไป โดยผู้ออกแบบตั้งใจนำวัสดุสมัยใหม่เข้าไปทดแทนในส่วนที่ใช้งานไม่ได้แล้ว เป็นการผสมผสานวัสดุยุคเก่าและใหม่เข้ากันอย่างลงตัว

บ้านบางนา 2017

เริ่มต้นโปรเจกท์ด้วยความต้องการผสมกับไลฟ์สไตล์ของเจ้าของที่อยากให้รูปแบบบ้านมีความสนุกสนาน ผู้ออกแบบจึงหยิบรูปทรงและโครงสร้างแบบ Modern ใช้รูปแบบความตั้งฉากของกล่องจัดวางให้เกิดจังหวะที่ต่อเนื่องกัน สร้างจุดตัดให้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อและขัดแย้งในเวลาเดียวกัน จุดน่าสนใจอีกมุมหนึ่งของบ้านหลังนี้คือการใช้ประโยชน์จากกำแพงโดยทำให้เป็นผาจำลอง ซึ่งเป็นกีฬาที่เจ้าของบ้านมีความสนใจ

บ้านสายไหม 2017

บ้านที่ออกแบบให้เพื่อนสมัยม.ปลาย บ้านที่ตั้งใจให้เกิดฟอร์มทรงเลขาเรียบที่สุดโดยสร้างบนที่ผืนใหม่ติดกับบ้านเดิม บ้าน 2 ชั้น พื้นที่ 400 ตรม. จุดเด่นของบ้านคือการออกแบบเปลือกอาคารสองชั้นที่มีผลกับเรื่องความร้อน และความเป็นส่วนตัว ที่ชั้น 1 มีพื้นที่ส่วนรวมที่ต้องการให้รู้สึกเชื่อมต่อกับบ้านเดิม วัสดุชั้นที่สองมีความโปร่งแสง อากาศไหลผ่าน และช่วยลดทอนความตันของทรงอาคารด้วย

ห้องสมุดแก่งกระจาน 2017

เจ้าของโครงการมีความต้องการจะคืนพื้นที่ให้กับสังคมแถบนั้นด้วยการสร้างพื้นที่อเนกประสงค์เพื่อการศึกษาสำหรับเด็ก รวมถึงคนในชุมชนระแวกใกล้เคียง และผู้คนทั่วไปที่ผ่านเส้นทางนี้ แนวคิดเบื้องต้นของการออกแบบคือการทำพื้นที่ห้องสมุดที่สามารถใช้เป็นพื้นที่ Common ได้ในเวลาเดียวกันโดยไม่มีการกั้นพื้นที่ มีเพียงส่วนเก็บหนังสือและส่วนบริการทั้งหมด 5 ที่สามารถใช้งานและเข้าถึงได้จากรอบทิศทางของอาคาร วัสดุที่ใช้มีความโปร่งแสงทำหน้าที่กันฝน แต่แสงลอดผ่านได้ตลอดทั้งวัน ทำให้ช่วงเวลาที่เปิดใช้งาน ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แสงไฟอื่นๆเข้ามาเป็นตัวช่วย ซึ่งมีผลต่อการประหยัดพลังงานเป็นอย่างมาก

House Of J' 2018

ตัว “J” ที่มาจาก “JUNSEKINO” บ้านหลังนี้เป็นบ้านสำหรับครอบครัว JUNSEKINO สามชั้น มีการใช้งานหลักเริ่มที่ชั้น 2 ชั้นล่างเป็นส่วนทำงาน และเซอร์วิส รวมถึงคอร์ตกลางบ้าน ในอนาคตลูกๆ จะอยู่ที่ชั้น 3 บ้านกล่องเปิดปิดเฉพาะตรงกลางเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมส่วนต่างๆ ของบ้านตลอดสามชั้น มีวัสดุที่ใช้หลัก 3 อย่างคือ คอนกรีต กระจก และไม้

Pool 115 2018
จากพื้นที่สระว่ายน้ำเก่า ซึ่งผู้ออกแบบตั้งใจสร้างบ้านให้ตำแหน่งอาคารวางคร่อมสระน้ำเดิมจนมีขนาดพื้นที่ประมาณ 250 ตารางเมตร จำนวน 3 ชั้นและมีชั้นใต้ดิน 1 ชั้น วิธีการออกแบบใช้วิธีการสร้างระบบผนังขึ้นมา 2 ชั้น ให้ผนังภายนอกเป็นตัวควบคุมเรื่องของแสงและอากาศเข้ามาในตัวบ้านโดยผ่านระบบผนังภายนอกนั่นเอง การที่บ้านมีระบบผนังสองชั้นจึงเกิดการจัดการพื้นที่ภายในได้ โดยที่สามารถเปิดหรือปิดพื้นที่ใช้งานภายในที่ทำงานขนานกับตัวผนังภายนอกได้
Steel 3 2018

บ้านโครงสร้างเหล็กทั้งหลังที่เกิดจากความตั้งใจในการเล่นระดับการใช้งานภายในตัวอาคาร แทรกไปตามบริบทต่างๆภายในพื้นที่ โดยมีคอร์ตหลักของบ้านคือบันได ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อ ทั้งการใช้งาน ทางเดิน และผู้คนภายในบ้าน เข้าด้วยกัน บ้านมีลักษณะพื้นที่การใช้งานที่ถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ และกระจายออกไปในแต่ละระดับที่แตกต่างกัน ทำให้ในบ้านต่างมีมุมของตนเอง ทั้งในเรื่องของมุมมอง และบริบทของพื้นที่ ซึ่งแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

บ้าน 4x4 2018

บ้านมีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 280 ตารางเมตร มีจำนวน 2 ชั้น มีวิธีการออกแบบที่ถูกคิดมาจากตัววัสดุกระเบื้องที่เล็กที่สุด ขนาด 4x4 นิ้ว เป็นระบบพิกเซลขนาดเล็กทำให้เกิดพื้นที่แต่ละบริเวณ ผู้ออกแบบมีความตั้งใจให้ตัวบ้านดูเหมือนเป็นอาคารที่ลอยอยู่กลางสวน โดยออกแบบผนังด้านบนให้ทึบเป็นส่วนใหญ่และมีเพียงแค่ช่องเปิดขนาดเล็กตามการใช้งานเท่านั้น ส่วนผนังด้านล่างถูกออกแบบบ้านให้ใช้กระจกใสขนาดใหญ่เพื่อทำให้ภาพรวมของอาคารให้ความรู้สึกที่ลอยและตรงไปตรงมา

บ้าน 62 2018

ขอบเขตของบ้านหลังนี้เกิดจากความเรียบง่ายของกล่องเป็นตัวแบ่งกั้น Zoning และมุมมอง บนพื้นที่ 600 ตร.ม. ความน่าสนใจของบ้านหลังนี้คือความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงระหว่างภายนอกและภายใน ที่ภายนอกดูปิดกั้นแต่ภายในบ้านนั้นมีการเลือกใช้วัสดุที่หลากหลาย รวมถึงการเลือกใช้สัจจะวัสดุทั้งหมด มีการเปิดใช้งานพื้นที่อย่างเต็มที่ โดยใช้ Landscape เป็นตัวเชื่อมกับบ้านทั้ง 3 หลังเข้าด้วยกัน ซึ่งประกอบด้วย บ้านหลัก บ้านคุณแม่ และร้านอาหาร ทำให้มุมมองจากภายนอกมีความรู้สึกว่าเป็นบ้านหลังเดียวกัน

บ้านรางน้ำ 2018

บ้านแนวตั้ง 5 ชั้น ที่ออกแบบให้ตัดขาดจากกัน มีการเล่นระดับความสูงแต่ละชั้นไม่เท่ากันโดยวางไว้ให้สัมพันธ์กับการใช้งานในแต่ละพื้นที่ และโถงบันได รวมถึง Landscape ใจกลางบ้านให้เป็น Semi Outdoor เชื่อมต่อทางสัญจรในแนวตั้ง และทางสายตาให้ทุกพื้นที่ไม่ตัดขาดจากกัน การใช้วัสดุปิดผิวโดยรอบอาคารทำให้บ้านเกิด Movement ของแต่ละช่วงเวลาระหว่างวัน หากเปิดก็สามารถเชื่อมต่อกับบริบทภายนอกได้ หรือปิดเมื่อต้องการความเป็นส่วนตัว

บ้านชัยนาท 2018

บ้านชั้นเดียวติดริมแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไม่ต้องการแสดงตัวตนออกมาโดดเด่นเหนือบริบท มีการนำองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นมาประยุกต์ใช้ โดยตัวบ้านถูกแบ่งออกด้วยแกนหลัก เป็น 2 ส่วนหลัก คือส่วนกลางที่ให้ทุกคนได้ใช้พื้นที่ทำกิจกรรมร่วมกัน และส่วนห้องนอนที่ออกแบบให้มีความเป็นส่วนตัว แกนองศาของอาคารวางอย่างให้สามารถเห็นแม่น้ำเป็นสำคัญ และมีการถอดภาษาจากองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมไทยมาใช้บังคับมุมมอง Façade ระแนงไม้ที่ สามารถเปิดและปิดได้อย่างเต็มที่

บ้านดินแดง 2018
“ที่ตรงนี้ที่ผมต้องการเห้นพระอาทิตย์ตกกินทุกวัน ผ่านสระส่วนตัวและทุกห้องในบ้านนี้จะเห้นภาพนี้’ คำพูดของเจ้าของบ้านชาว เยอเรอมัน บอกความรู้สึกและมุมมองของเขาในการเป้นช่างภาพ ความต้องการที่ว่างที่ให้ความรู้สึกนี้….. บ้านจันบ้านตากอากาศที่โดดเดี่ยวอยุ่ริมทะเล เยอเรอมัน บอกความรู้สึกและมุมมองของเขาในการเป้นช่างภาพ ความต้องการที่ว่างที่ให้ความรู้สึกนี้….. บ้านจันบ้านตากอากาศที่โดดเดี่ยวอยุ่ริมทะเล